กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9804
ชื่อเรื่อง: แนวทางการพัฒนากลุ่มสตรีสหกรณ์ในอำเภอเมือง จังหวัดกระบี่
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Development approach for women's groups' cooperatives in Muang district, Krabi province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สมจิต โยธะคง, อาจารย์ที่ปรึกษา
ปัญญา หิรัญรัศมี, อาจารย์ที่ปรึกษา
โอภาวดี เข็มทอง, อาจารย์ที่ปรึกษา
นิยม กล่อมวิเศษ, 2493-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาส่งเสริมการเกษตร --วิทยานิพนธ์
สตรี--ไทย--กระบี่--การรวมกลุ่ม
สตรีกับการพัฒนา--ไทย--กระบี่
วันที่เผยแพร่: 2546
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพี่อศึกษา (1) สถานภาพสังคมและเศรษฐกิจของสมาชิกกลุ่ม สตรีสหกรณ์ 6 แห่ง ในอำเภอเมือง จังหวัดกระบี่ พ. ศ. 2546 (2) แนวทางการพัฒนากลุ่มสตรีสหกรณ์ (3) ปัญหาและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับแนวทางการพัฒนากลุ่มสตรีสหกรณ์ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัย แบบสำรวจ ประชากรที่ใช้ในการวิจัยคือ สมาชิกกลุ่มสตรีสหกรณ์ อำเภอเมือง จังหวัดกระบี่ จำนวน 199คน กลุ่มตัวอย่าง91 คนใด้จากการลุ่มตัวอย่างแบบง่าย เครื่องมือที่ใช้เป็นการสัมภาษณ์แบบมี โครงสร้าง ค่าสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การ จัดอันดับ และ ค่าที (t-test) ด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป SPSS/for windows 11.0 ผลการวิจัยพบว่า (1) สมาขิกกรุ่มสตรีสหกรณ์ส่วนมากเป็นสมาขิกกลุ่มสตรึสหกรณ์ที่ แต่งงานแล้ว อายุเฉลี่ย 34.4 ปี ระดับการศึกษา จบระดับประถมศึกษาปีที่ 4 สถานภาพภายในกลุ่ม เป็นสมาขิก สมาชิกในครัว่เรือนเฉลี่ย 4.6 คน อาชีพหลักท้าหัตถกรรม มัคคุเทศก์ และค้าขาย อาชีพเสริมทำ ผ้าบาติก จำนวนแรงงานในครัวเรือนเฉลี่ย 2.9 คน รายได้จากการเข้าร่วมกิจกรรม ของกลุ่มในปีที่ผ่านมาเฉลี่ย 23,046.0 บาท รายจ่ายจากการเข้าร่วมกิจกรรมของกลุ่มในปีที่ผ่านมา เฉลี่ย 13,094.9 บาท ไม่ได้รับเงินปันผล/เฉลี่ยคืนในทุกปี (2) ด้านแนวทางการพัฒนากลุ่มสตรี สหกรณ์ สมาขิกกลุ่มสตรีสหกรณ์มีความต้องการพัฒนากลุ่มสตรีสหกรณ์อยู่ในระดับมาก ซึ่งต้องการ พัฒนาด้านผลิตภัณฑ์ของกลุ่มเป็นอันดับหนึ่ง และ (3) ด้านปัญหาและข้อเสนอแนะ สมาชิกกลุ่ม สตรีสหกรณ์ที่เป็นโสดและแต่งงานแล้ว กล่าวถึงปัญหาและมีข้อเสนอแนะเกี่ยวกับด้านผลิตภัณฑ์ชอง กลุ่มมากที่สุด ผลทดสอบสมมติฐานพบว่า ปฏิเสธสมมติฐานที่ตั้งไว้ กล่าวคือ สมาชิกกลุ่มสตรีสหกรณ์ ที่เป็นโสดกับที่แต่งงานแล้วมีความต้องการพัฒนาโดยรวมไม่แตกต่างกัน ยกเว้นด้านความชื่อสัตย์ มีความแตกต่างกัน ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2546
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9804
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Agri-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
83608.pdfเอกสารฉบับเต็ม8.26 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons