กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9834
ชื่อเรื่อง: ผลกระทบและความช่วยเหลือด้านการเกษตรแก่เกษตรกรผู้ประสบอุทกภัยในจังหวัดอุตรดิตถ์ : ศึกษากรณีปี 2548
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Effects of flooding and agricultural supports to farmers in Uttaradit Province : a case study in 2005
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สุนันท์ สีสังข์, อาจารย์ที่ปรึกษา
พรชุลีย์ นิลวิเศษ, อาจารย์ที่ปรึกษา
เยาวภา ชัยประจง, 2505-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาส่งเสริมการเกษตร --วิทยานิพนธ์
ความช่วยเหลือทางการเกษตร
เกษตรกร--ความเสียหายจากอุทกภัย--ไทย--อุตรดิตถ์
วันที่เผยแพร่: 2549
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้เพื่อศึกษา (1) ข้อมูลพื้นฐานทางสังคมและเศรษฐกิจของเกษตรกรผู้ประสบอุทกภัย (2) สภาพการเกษตรและการได้รับความเสียหายจากอุทกภัยของเกษตรกร (3) ความคิดเห็นของเกษตรกรผู้ประสบ อุทกภัยต่อการให้ความช่วยเหลือด้านการเกษตรของทางราชการ (4) ผลกระทบที่เกิดขึ้นหลังการเกิดอุทกภัย และ (5) ปัญหาและข้อเสนอแนะของเกษตรกรในการให้ความช่วยเหลือด้านการเกษตรของทางราชการ ผลการวิจัยพบว่า (1) เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุเฉลี่ย 49.07ปี อาชีพหลักทำนา จำนวนสมาชิกในครัวเรือนเฉลี่ย 3.95 คน รายได้จากภาคเกษตรและนอกภาคเกษตรเฉลี่ยปีละ 195,015.54 บาท (2) พื้นที่ทำการเกษตรส่วนใหญ่เป็นที่ราบสุ่มเฉลี่ย 34.51 ไร' (3) พื้นที่ทำนาข้าวเสียหายเฉลี่ย 19.43 ไร่มูลค่าทรัพย์สินที่ ได้รับความเสียหายเฉลี่ย 48,724.32 บาท พื้นที่ทางการเกษตรเสียหายเฉลี่ย 19.82 ไร่ ได้รับเงินช่วยเหลือเฉลี่ยราย ละ 4,024.96 บาท โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายในการขอรับเงิน เกษตรกรเห็นด้วยมากที่สุดในการให้ความช่วยเหลือด้าน การเกษตรของทางราชการเป็นเงินสด ซึ่งควรจ่ายเงินช่วยเหลือภายในระยะไม่เกิน 3 เดือน และสถานที่ปิด ประกาศและจ่ายเอกสารควรเป็นที่ทำการกำนันผู้ใหญ่บ้าน (4) เกษตรกรมีความคิดเห็นถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นจาก อุทกภัยในชังหวัดอุตรดิฅถ์ ด้านสังคมเกี่ยวกับความมั่นคงปลอดภัยในทรัพย์สินและการให้บริการด้านการศึกษา ว่ามีการเปลี่ยนแปลงที่ลดลง การให้บริการของเจ้าหน้าที่ปกครองและการให้บริการด้านสาธารณสุข ว่ามีการ เปลี่ยนแปลงที่คีขึ้น ด้านเศรษฐกิจเกี่ยวกับรายได้รวมของครัวเรือน รายได้รวมทางการเกษตร รายจ่ายรวมของ ครัวเรือน และเงินออม ว่ามีการเปลี่ยนแปลงที่ลดลง ด้านกายภาพและชีวภาพเกี่ยวกับความอุดมสมบูรณ์ของพื้นที่ การเกษตร ว่ามีการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น และด้านสภาพจิตใจเกี่ยวกับความเครียดและความวิตกกังวล ว่ามีเป็น ประจำหรือบ่อย ๆ และ (5) เกษตรกรมีปัญหาระดับมากที่สุดในการให้ความช่วยเหลือด้านการเกษตรของทางราชการเกี่ยวกับการได้รับเงินช่วยเหลือหรือเงินชดเชยความเสียหายของพืชเกษตรจำนวนน้อยเกินไปจึงมี ข้อเสนอแนะ ให้รัฐกำหนดค่าชดเชยในอัตราที่แน่นอนและคุ้มค่ากับความเสียหาย การให้ความร้แก่เกษตรกรใน การผลิตพืชชนิดลดความเสี่ยงภัยธรรมชาติ และการแจ้งเตือนการเกิดอุทกภัยล่วงหน้า
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2549
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9834
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Agri-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
100814.pdfเอกสารฉบับเต็ม4.89 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons