Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9837
Title: ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความพึงพอใจในการปฏิบัติงานด้านการพัฒนาที่ดินของหมอดินอาสาประจำตำบล ในพื้นที่สำนักงานพัฒนาที่ดินเขต 7
Other Titles: Factors relating to satisfaction on land development operation by Sub-district Soil Improvement Volunteers in the Area of Land Development Office Region 7
Authors: พรชุลีย์ นิลวิเศษ, อาจารย์ที่ปรึกษา
พรชุลีย์ นิลวิเศษ, อาจารย์ที่ปรึกษา
นครินทร์ ชมภู, 2505-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาส่งเสริมการเกษตร --วิทยานิพนธ์
สำนักงานพัฒนาที่ดินเขต 7
Issue Date: 2549
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ปัจจัยทางสังคม เศรษฐกิจ และปัจจัยอื่น ๆ ของหมอดิน อาสาประจำตำบล (2) ความพึงพอใจในการปฏิบัติงานด้านการพัฒนาที่ดินของหมอดินอาสาประจำตำบล (3) ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความพึงพอใจในการปฏิบัติงานด้านการพัฒนาที่ดินของหมอดินอาสาประจำตำบล (4) ปัญหา และข้อเสนอแนะของหมอดินอาสาประจำตำบล ผลการวิจัยพบว่า หมอดินอาสาประจำตำบลในพื้นที่สำนักงานพัฒนาที่ดินเขต 7 ส่วนใหญ่เป็นเพศ ชาย มีอายูเฉลี่ย 50.45 ปี จบชั้นมัชยมศึกษาตอนปลายส่วนใหญ่ไม่มีตำแหน่งทางสังคม เป็นสมาชิกสถาบัน เกษตรกร 2 กลุ่ม มีอาชีพหลักทำนา จำนวนสมาชิกครัวเรือนที่เป็นแรงงานเฉลี่ย 1.64 คน มีพื้นที่ทำการเกษตร เฉลี่ย 18.56 ไร่ส่วนใหญ่ใช้ประโยชน์ที่ดินในการทำนาและรายไค้ครัวเรือนเฉลี่ย 113,659.35 บาทความพึงพอใจในการปฏิบัติงานในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง โดยมีความพึงพอใจต่อการอบรม การแจกจ่ายสารเร่ง ต่าง ๆ การสาธิตการทำและใช้ปุ๋ยหมัก รวมทั้งปุ๋ยอินทรีย์นำ ในระดับมาก ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความพึงพอใจใน การปฏิบัติงานคือ ระดับความรู้ด้านการพัฒนาที่ดินที่ได้รับจากแหล่งต่าง ๆ การได้รับปัจจัยสนับสบุนจากกรมพัฒนาที่ดิน และจำนวนแรงงานในครัวเรือน ปัญหาของหมอดินอาสาประจำตำบล ได้แก่ สถานที่ฝึกอบรมอยู่ไกล ค่าตอบแทนน้อย นํ้าในไร่นาไม่พอเพียงในฤดูแล้ง กากน้ำตาลมีราคาแพง เมล็ดพันธุ์พืชปุ๋ยสดมาไม่ทันฤดูปลูก และขาดการประสานงานการมีส่วนร่วมกับหน่วยงานในพื้นที่ ข้อเสนอแนะ ได้แก่ ควรจัดอบรมในพื้นที่ พิจารณา พื้นที่ขุดแหล่งนํ้าในไร่นาให้เหมาะสม จัดหาวัสดุทดแทนกากน้ำตาลโดยใช้วัสดุในท้องถิ่น ควรตั้งงบประมาณ เหลื่อมปีหรือจัดสรรงบประมาณในการจัดซื้อเมล็ดพันธุพืชปุ๋ยสดให้เร็วขึ้นและประชาสัมพันธ์บทบาทหน้าที่ของหมอดินอาสาแก่หน่วยงานในพื้นที่
Description: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2549
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9837
Appears in Collections:Agri-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
100816.pdfเอกสารฉบับเต็ม5.82 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons