Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/983
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorจุมพล หนิมพานิชth_TH
dc.contributor.authorชาตรัตน์ โสภี, 2518-th_TH
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษาth_TH
dc.date.accessioned2022-08-25T03:36:10Z-
dc.date.available2022-08-25T03:36:10Z-
dc.date.issued2550-
dc.identifier.urihttp://ir.stou.ac.th/handle/123456789/983-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ร.ม. (การเมืองการปกครอง))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2550th_TH
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาลักษณะความสัมพันธ์บทบาทและอิทธิพล ของระบบทุนนิยมเครือญาติ ในรัฐบาลจอมพลถนอม กิตติขจร ที่ส่งผลต่อระบบการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม (2) ศึกษาลักษณะความสัมพันธ์ บทบาทและอิทธิพลของระบบทุนนิยมเครือญาติ ในรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ที่ส่งผลต่อระบบการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม (3) เปรียบเทียบระบบทุนนิยมเครือญาติ ในสมัยรัฐบาลจอมพลถนอม กิตติขจร กับรัฐบาล พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา ประชากรในการทำวิจัยได้แก่ นักวิชาการ นักการเมือง และนักสื่อสารมวลชน ซึ่งคุณลักษณะของกลุ่มตัวอย่างที่ผู้วิจัยคัดเลือกเพื่อทำการสัมภาษณ์เป็นบุคคลที่มีความรู้เรื่องราวต่าง ๆ ในสมัยรัฐบาลจอมพลถนอม กิตติขจร และรัฐบาล พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร ที่ผ่านมาแล้ว เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสัมภาษณ์ และศึกษาจากเอกสารทั้งชั้นต้นและชั้นรองเป็นหลัก นำข้อมูลที่ได้จากการค้นคว้าและรวบรวมทั้งที่เป็นข้อมูลปฐมภูมิและทุติยภูมิ รวมทั้งข้อมูล จากการสัมภาษณ์นำเสนอในลักษณะเชิงพรรณนาวิเคราะห์ ผลการวิจัยพบว่า (1) ลักษณะความสัมพันธ์ของระบบทุนนิยมเครือญาติในรัฐบาลจอมพลถนอม กิตติขจร เป็นความสัมพันธ์แบบญาติจริงและเฉพาะกลุ่มชนชั้นนำทางอำนาจที่เป็นทหารเท่านั้นส่วนรัฐบาล พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร มีทั้งเป็นญาติจริงและญาติขยายวงศ์ที่มีจำนวนของกลุ่มมากกว่าความสัมพันธ์จะเป็นในแนวตั้ง โดยในสมัยรัฐบาลจอมพลถนอม นักการเมืองจะเป็นผู้นำเหนือฝ่ายธุรกิจแต่ในสมัย พ.ต.ท. ทักษิณ กสุ่มนักธุรกิจกลับมาเป็นผู้นำเหนือฝ่ายการเมือง โดยกลุ่มทุนเข้ามาดำรงตำแหน่งทางการเมืองโดยตรงไม่ใช่โดยอ้อมดังสมัยรัฐบาลจอมพลถนอม (2) บทบาทและอิทธิพลของกลุ่มทุนนิยมเครือญาติต่อนโยบายรัฐบาล ในสมัยรัฐบาล จอมพลถนอม ยังมีบทบาทไม่เด่นชัดนักและไม่ได้เข้ามากำหนดนโยบายโดยตรง ชึ่งแตกต่างจากสมัยรัฐบาล พ.ต.ท. ทักษิณ ที่กลุ่มทุนนิยมเครือญาติเข้ามากำหนดนโยบายโดยตรงโดยมีจำนวนมากกว่าและแสดงให้เห็นถึงการเอื้อประโยชน์ให้กับกลุ่มเครือญาติที่เด่นชัดกว่าสมัยจอมพลถนอม (3) ระบบทุนนิยมเครือญาติของทั้งสองรัฐบาลส่งผลต่อระบบ การเมือง เศรษฐกิจ และสังคม คือ ทำให้ระบบการเมืองต้องมีการเปลี่ยนแปลง โดยในรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ มีความรุนแรงกว่าสมัยรัฐบาลจอมพลถนอม ในทางเศรษฐกิจก่อให้เกิดการผูกขาด และระบบสังคมนำไปสู่การเกิดการบริโภคนิยมและการพึ่งพารัฐ ที่นำไปสู่ปัญหาการคอรัปชั่นth_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothth_TH
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.relation.urihttps://www.doi.org/10.14457/STOU.the.2007.259en_US
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceReformatted digitalen_US
dc.subjectทักษิณ ชินวัตร, 2492-th_TH
dc.subjectถนอม กิตติขจรth_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชารัฐศาสตร์ -- วิทยานิพนธ์th_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการเมืองการปกครอง -- วิทยานิพนธ์th_TH
dc.subjectทุนนิยม -- ไทยth_TH
dc.subjectไทย -- การเมืองและการปกครองth_TH
dc.titleระบบทุนนิยมเครือญาติในการเมืองไทย ศึกษาเปรียบเทียบรัฐบาลจอมพลถนอม กิตติขจรกับรัฐบาล พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตรth_TH
dc.title.alternativeCrony capitalism in Thai politics : a comparison between Filed Marshal Thanom Kittikajorn and Pol. Lt. Col. Thaksin Chinawatra Regimesen_US
dc.typeThesisen_US
dc.identifier.DOI10.14457/STOU.the.2007.259en_US
dc.degree.nameรัฐศาสตรมหาบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชารัฐศาสตร์th_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeThe purposes of this study were (1) to describe relationship, role, and influence of crony capitalism during Field Marshal Thanom Kittikajom regime that affected political, economic and social systems; (2) to indicate relationship, role, and influence of crony capitalism during Pol. Lt. Col. Thaksin Shinawatra regime that affected political, economic and social systems; and (3) to compare crony capitalism between Thanom Kittikajom and Thaksin Shinawatra regimes. This research W'as a descriptive research. The population was academic, politician and mass media groups. The selected sample had knowledge on the governance of Thanom and Thaksin. The research instruments were interview forms and primary and secondary documents. Data from primary and secondary documents and interviewing were presented using descriptive analysis. The research findings showed that (1) relationship in crony capitalism during Thanom regime was actual kindred and centered around military elite. During Thaksin regime, kinship included actual kindred and more extended kins. The relationship was vertical. During Thanom regime, politicians led businessmen, but during Thaksin regime, businessmen controlled over politicians. The capitalists directly took part in political positions, not indirectly as in Thanom regime. (2) During Thanom regime, role and influence of crony capitalism was not evident and did not set up policy directly. That was different from Thaksin regime where kinship capitalists of Thaksin created more policies and showed that they completely facilitated their kins more. (3) Crony capitalism of both regimes affected political, economic and society systems. In the political system, political changes were found more severe during Thaksin regime than Thanom regime. The economic system was led to a monopoly system. The social system turned to be consumerism and state dependency, hence caused corruption problems.en_US
Appears in Collections:Pol-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Thesbib105529.pdfเอกสารฉบับเต็ม24.84 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons