กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9854
ชื่อเรื่อง: การสื่อสารความตายระหว่างบุคลากรทางสุขภาพกับผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับการดูแลแบบประคับประคอง และผู้ดูแลหลัก
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Communication about death among healthcare personnel, cancer patients in palliative care and primary caregivers
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: มนวิภา วงรุจิระ, อาจารย์ที่ปรึกษา
อุณาโลม จันทร์รุ่งมณีกุล, อาจารย์ที่ปรึกษา
รุ้งนภา ผาณิตรัตน์ อาจารย์ที่ปรึกษา
ดารณี ทั้งไพศาล, 2515-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิเทศศาสตร์--วิทยานิพนธ์
การสื่อสารทางการแพทย์
บุคลากรทางการแพทย์กับผู้ป่วย--การสื่อสาร
วันที่เผยแพร่: 2564
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) การประกอบสร้างความหมายความตาย 2) กระบวนการสื่อสารความตาย และ 3) แนวทางการสื่อสารความตาย ระหว่างบุคลากรทางสุขภาพ ผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับการดูแลแบบประคับประคองและผู้ดูแลหลัก การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก สนทนากลุ่ม และสังเกตการณ์แบบไม่มีส่วนร่วมในโรงพยาบาลกรณีศึกษาและที่บ้านผู้ป่วย ใช้วิธีเลือกผู้ให้ข้อมูลหลักแบบเจาะจงและแบบสโนบอลจากทีมสหวิชาชีพ ได้แก่ แพทย์ พยาบาล แพทย์รังสีรักษา นักสังคมสงเคราะห์ และนักจิตวิทยา รวมจำนวน 8 คน และผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับการดูแลแบบประคับประคอง 4 คนและผู้ดูแลหลัก 4 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการสร้างข้อสรุป ผลการศึกษาพบว่า 1) การประกอบสร้างความหมายความตายของบุคลากรทางสุขภาพ ผู้ป่วยมะเร็งและผู้ดูแลหลักล้วนแตกต่างกันตามมุมมองและปัจจัยที่เกี่ยวข้อง (1) แพทย์เน้นมุมมองการแพทย์อย่างเดียว ความหมายความตายจึงเป็นเพียงภาวะหัวใจหยุดเต้น แต่แพทย์รังสีรักษาและแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเน้นมุมมองสังคม ศาสนา การดูแลแบบประคับประคอง และประสบการณ์การทำงานที่คำนึงความต้องการผู้ป่วย ความหมายความตายจึงมากกว่าเพียงหัวใจหยุดเต้น (2) ขณะที่สหวิชาชีพอื่น ผู้ป่วยมะเร็งและผู้ดูแลหลักเน้นมุมมองศาสนา ความหมายความตายจึงมองว่าเป็นธรรมชาติ และเชื่อเรื่องภพภูมิหลังความตาย (3) แต่ผู้ป่วยมะเร็งยังมีปัจจัยเพื่อนผู้ป่วยข้างห้องที่บางคนอายุน้อยกว่า บางคนเป็นเพศหญิง จึงมีกำลังใจในการรักษาและค่อย ๆ ยอมรับความตายมากขึ้น (4) ส่วนผู้ดูแลหลักมีปัจจัยเรื่องระยะเวลา การดูแล อารมณ์ ความรู้สึก ความผูกพัน ความใกล้ชิด ความสัมพันธ์ในครอบครัว 2) กระบวนการสื่อสารความตายในแต่ละช่วง คือ (1) การแรกรับผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้าย แพทย์เน้นให้ข้อมูลการรักษาผู้ป่วยตามอาการโดยไม่เน้นเครื่องมืออุปกรณ์การช่วยชีวิต โดยแพทย์ยอมรับว่ามีความลำบากในการสื่อสารและสร้างความสัมพันธ์กับผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้ายเมื่อเทียบกับผู้ป่วยมะเร็งระยะแรก (2) การแจ้งอาการผู้ป่วยและการประชุมทีมสหวิชาชีพ แพทย์เน้นให้ผู้ป่วยร่วมวางแผนรักษาโรคด้วยตนเอง แพทย์เป็นความหวังเดียวของผู้ป่วยและผู้ดูแลหลักจึงเชื่อฟังแพทย์และยินยอมการรักษาเพื่อสร้างกำลังใจให้กับตนเองซึ่งถือเป็นการต่อรองลักษณะหนึ่งของผู้ป่วยที่เข้ามารักษาในพื้นที่กรณีศึกษา ขณะที่แพทย์เองก็ต่อรองกับผู้ป่วยและทีมสหวิชาชีพอื่นตามอำนาจความรู้วิชาชีพแพทย์ (3) การรักษาไประยะหนึ่งใกล้กลับบ้าน สหวิชาชีพอื่นมีความสำคัญให้การดูแลผู้ป่วย เข้าใจอารมณ์ความรู้สึกเห็นอกเห็นใจผู้ป่วยตามมุมมองศาสนา ให้ความสำคัญกับจิตวิญญาณตามความสนใจและความต้องการของผู้ป่วยและผู้ดูแลหลัก และ (4) การกลับไปรักษาตัวที่บ้านเท่ากับผู้ป่วยได้กลับสู่ความเป็นจริงในชีวิตประจำวันที่บ้านทำให้มีการต่อรองการสื่อสารความตายกับพื้นฐานความเชื่อเดิมอย่างเช่นเรื่องร่างทรง และ 3) แนวทางการสื่อสารความตาย สหวิชาชีพโดยเฉพาะแพทย์ควรเป็นผู้ให้คำปรึกษา ให้ความรู้การดูแลแบบประคับประคอง สร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้ป่วยตั้งแต่แรกรับผ่านการสื่อสารทั้งคำพูด (วัจนภาษา) และแววตา ท่าทาง (อวัจนภาษา) เป็นเพื่อนร่วมทางพร้อมช่วยแก้ปัญหา ให้เวลารับฟังเรื่องราวผู้ป่วย และควรเน้นการสื่อสารแบบมีส่วนร่วมทั้งการสื่อสารกลุ่มเป็นทางการและไม่เป็นทางการ ได้แก่ การประชุมครอบครัว การประชุมทีมสหวิชาชีพ การเยี่ยมบ้านผู้ป่วย ที่สำคัญแพทย์ควรบอกความจริงโรคอย่างตรงไปตรงมา เข้าใจอารมณ์ความรู้สึกเห็นอกเห็นใจผู้ป่วยด้วยความจริงใจอย่างแท้จริง
รายละเอียด: ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.(นิเทศศาสตร์))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2564
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9854
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Comm-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdfเอกสารฉบับเต็ม46.79 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons