กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9859
ชื่อเรื่อง: การปฏิบัติเกี่ยวกับการดูแลบำรุงรักษาสวนยางพาราหลังเปิดกรีดของเกษตรกรจังหวัดมุกดาหาร
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Practices of para rubber maintenance after tapping by farmers in Mukdahan Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: บำเพ็ญ เขียวหวาน, อาจารย์ที่ปรึกษา
สมจิต โยธะคง, อาจารย์ที่ปรึกษา
วิมุติ ลิ้มวัฒนชัย, 2497-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาส่งเสริมการเกษตร --วิทยานิพนธ์
ยางพารา--แง่เศรษฐกิจ
เกษตรกร--ไทย--มุกดาหาร
วันที่เผยแพร่: 2549
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) สภาพพื้นฐานทั่วไปทางด้านสังคมและเศรษฐกิจของ เกษตรกร (2) สภาพการปฏิบัติเกี่ยวกับการดูแลบำรุงรักษาสวนยางพาราหลังเปิดกรีดของเกษตรกร (3) ความ ต้องการความรู้การปฏิบัติเกี่ยวกับการดูแลบำรุงรักษาสวนยางพาราหลังเปิดกรีด (4) ปัญหาและข้อเสนอแนะการ ปฏิบัติเกี่ยวกับการดูแลบำรุงรักษาสวนยางพาราหลังเปิดกรีด กลุ่มตัวอย่างประชากรที่ใช้ในการวิชัยคือเกษตรกรผู้ปลูกยางพาราในจังหวัดมุกดาหาร จำนวน 250 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าตํ่าสุด ค่าสูงสุด และค่าไคสแควร์ ผลการวิชัยพบว่า (1) เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเพศชายอายูเฉลี่ย 45.42 ปีจบการศึกษาชั้นประถมศึกษา สมรสแล้ว มีสมาชิกในครัวเรือนเฉลี่ย 5.04 คน มีรายได้เฉลี่ย 207,159.29 บาทต่อปี มีรายจ่ายเฉลี่ย 46,281.20 บาทต่อปี มีพื้นที่ถือครองเฉลี่ย 35.11 ไร่ มีแรงงานในการกรีดยางเฉลี่ย 2.26 คน ใช้ทุนตนเองในการทำสวน ยาง มีพื้นที่สวนยางเฉลี่ย 13.83ไร่ ปลูกยางระหว่างปี 2539-2541พื้นที่ปลูกยางเป็นที่ราบ ทั้งหมดปลูกยาง พันธุ RRIM 600 ใช้ระยะปลูก 2.5x7 เมตร (2) สภาพการปฏิบัติเกี่ยวกับการดูแลบำรุงรักษาสวนยางหลังเปิด กรีด เกษตรกรทั้งหมดมีการกำจัดวัชพืชในสวนยางทุกปี โดยวิธีกล เกษตรกรทั้งหมดมีการใส่ปุ๋ยเคมี ในอัตรา น้อยกว่า 51 กิโลกรัมต่อไร่ต่อปี ใส่ปีละ 2 ครั้งด้วยวิธีการหว่านระหว่างแถวยาง ส่วนใหญ่กรีดยางเอง เมื่อต้น ยางมีอายุเฉลี่ย 7.24 ปีขึ้นไป ที่ความสูง 150 เซนติเมตร เสันรอบต้น 50 เซนติเมตร เปิดกรีดยางครั้งแรกใน ระหว่างเดือนพฤษภาคม-มิถุนายน ใช้ระบบกรีดครึ่งต้นวันเว้นวัน มีวันกรีดยาง 121-150 วันต่อปี ได้รับ ผลผลิตยางแผ่น 2.01-3.00 กิโลกรัมต่อไร่ต่อหนึ่งครั้งกรีด จำหน่ายยางแผ่นโดยรวมกลุ่มกันขายในรูปของ ตลาดประมูลยาง (3) ความต้องการความรู้การปฏิบัติเกี่ยวกับการดูแลบำรุงรักษาสวนยางพาราหลังเปิดกรีด ใน ภาพรวมเกษตรกรต้องการความรู้เกี่ยวกับการดูแลบำรุงรักษาสวนยางพาราหลังเปิดกรีดในระดับมาก (4) ปัญหา และข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการปฏิบัติเกี่ยวกับการดูแลบำรุงรักษาสวนยางพาราหลังเปิดกรีด ในภาพรวมเกษตรกรมี ปัญหาในระดับปานกลาง เกษตรกรทั้งหมดต้องการให้รัฐจัดหาแม่ปุ๋ยในการผสมปุ๋ยใช้เอง และควบคุมการผลิต กิ่งพันธุ์ยาง (5) การทดสอบสมมติฐานการวิจัย พบว่าขนาดของพื้นที่สวนยางมีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติ เกี่ยวกับการดูแลบำรุงรักษาสวนยางด้านวิธีการกำจัดวัชพืช ระดับการศึกษา มีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติเกี่ยวกับ การดูแลบำรุงรักษาสวนยางด้านวิธีการกำจัดวัชพืช และด้านปริมาณการใส่ปุ๋ย รายได้ มีความสัมพันธ์กับการ ปฏิบัติเกี่ยวกับการดูแลบำรุงรักษาสวนยางด้านวิธีการกำจัดวัชพืช และด้านวิธีการใส่ปุ๋ย
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2549
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9859
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Agri-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
100896.pdfเอกสารฉบับเต็ม4.1 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons