Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9862
Title: การมีส่วนร่วมของคณะกรมการบริหารศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบล จังหวัดนครสวรรค์
Other Titles: Participation by board of director of Sub-district Centers for Services and Agricultural Technology Transfer in Nakhon Sawan Province
Authors: จินดา ขลิบทอง, อาจารย์ที่ปรึกษา
พรชุลีย์ นิลวิเศษ, อาจารย์ที่ปรึกษา
สมยศ มโนวงศ์, 2503-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาส่งเสริมการเกษตร --วิทยานิพนธ์
คณะกรรมการบริหารศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบล--การทำงาน.
ศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบล
Issue Date: 2549
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ข้อมูลพื้นฐานทั่วไป (2) การมีส่วนร่วม (3) ปัญหา และข้อเสนอแนะของคณะกรรมการบริหารศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร ประจำตำบล จังหวัดนครสวรรค์ ผลการวิจัยครั้งนี้ พบว่า คณะกรรมการบริหารศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร ประจำตำบลจังหวัดนครสวรรค์ ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีอายุเฉลี่ย 49.83 ปี มีสถานภาพสมรสแล้ว จบการศึกษาในระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาตอนต้น มีตำแหน่งส่วนใหญ่เป็นอาสาปศุสัตว์และผู้แทน หมู่บ้านระยะเวลาดำรงตำแหน่งเฉลี่ย 4.59 ปี ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพหลักคือการทำนา อาชีพรอง คือ การรับจ้างและค้าขาย รายได้ส่วนใหญ่เป็นรายได้ในภาคเกษตรเฉลี่ยปีละ 172,867.40 บาท ส่วนรายได้นอกภาค เกษตรเฉลี่ย ปีละ 79,419.95 บาท มีแรงงานในครัวเรือนเฉลี่ย 2.42 คน ส่วนใหญ่จะเป็นหนี้สินจากกองทุน หมู่บ้านและธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรแหล่งที่ไต้รับข่าวสารการเกษตรได้รับข่าวสารจาก เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร รองลงมา คือ โทรทัศน์ หอกระจายข่าว หนังสือพิมพ์ วิทยุ และเพื่อนบ้าน ตามลำดับคณะกรรมการบริหารศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบลจังหวัด นครสวรรค์ มีส่วนร่วมระดับมาก 2 ด้าน คือ ด้านการบริหารจัดการ ได้แก่ การจัดทำข้อตกลงร่วมเกี่ยวกับแนวทางการบริหารงานศูนย์การประชุมคณะกรรมการบริหารศูนย์ฯ การกระตุ้นผู้นำชุมชน การวางแผนการปฏิบัติงาน ศูนย์การประสานงานจัดหางบประมาณและการบริหารจัดการเงินทุนศูนย์ฯ การสนับสนุนการดำเนินงานของ ศูนย์ฯ และด้านการจัดกิจกรรมช่วยเหลือเกษตรกรได้แก่ การจัดทำข้อมูลประจำตำบล การจัดการถ่ายทอดความรู้ การเตือนภัยเศรษฐกิจ ภัยธรรมชาติ การรับรองข้อมูล และรายงานต่าง ๆ สำหรับด้านการประชาสัมพันธ์และ เผยแพร่ทุกกิจกรรมของศูนย์ให้ประชาชนรับทราบและเข้าร่วมกิจกรรมมีส่วนร่วมในระดับปานกลาง
Description: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2549
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9862
Appears in Collections:Agri-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
100899.pdfเอกสารฉบับเต็ม3.55 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons