กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9875
ชื่อเรื่อง: ทัศนคติที่มีต่องานส่งเสริมเคหกิจเกษตรของสมาชิกกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรอำเภอสามเงา จังหวัดตาก
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Attitudes toward home economics extension of farm women group members in Sam-ngao District, Tak Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: พรชุลีย์ นิลวิเศษ, อาจารย์ที่ปรึกษา
จินดา ขลิบทอง, อาจารย์ที่ปรึกษา
อรุณี เสือเหลือง, 2506-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาส่งเสริมการเกษตร --วิทยานิพนธ์
กลุ่มแม่บ้านเกษตรกร--ไทย--ตาก
กลุ่มแม่บ้านเกษตรกร--ทัศนคติ
วันที่เผยแพร่: 2549
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ข้อมูลพื้นฐานบางประการของสมาชิกกลุ่ม แม่บ้านเกษตรกร (2) ระดับทัศนคติของสมาชิกกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรที่มีต่องานส่งเสริมเคหกิจเกษตร เกี่ยวกับลักษณะการดำเนินงานส่งเสริมเคหกิจเกษตรและลักษณะนักวิชาการส่งเสริมการเกษตร ผู้รับผิดชอบงานเคหกิจเกษตร (3) ป็ญหาและข้อเสนอแนะของสมาชิกกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรในการ ส่งเสริมเคหกิจเกษตรในกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร ผลการวิจัยพบว่า (1) ข้อมูลพื้นฐานของสมาชิกกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรส่วนใหญ่มีอายุเฉลี่ย 50.36 ปี มีสถานภาพการเป็นสมาชิกของกลุ่มเฉลี่ย 12.02 ปี จำนวนสมาชิกในครัวเรือนเฉลี่ย 4.56 คน มีตำแหน่งสมาชิกในกลุ่ม ตั้งรกรากมาตั้งแต่บรรพบุรุษ รายได้ในภาคเกษตรเฉลี่ยปืละ 51,676.38 บาท รายได้นอกภาคเกษตรเฉลี่ยปีละ 82,121.81 บาท รายจ่ายในครัวเรือนเฉลี่ยปีละ 70,228.00 บาท มีพืนที่ ถือครองเฉลี่ย 15.98 ไร่ เป็นพื้นที่ของตนเองเฉลี่ย 14.01 ไร่ เป็นพื้นที่เช่าเฉลี่ย 11.93 ไร่ (2) สมาชิก กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรมีทัศนคติที่มีต่อลักษณะการดำเนินงานส่งเสริมเคหกิจเกษตรระดับเห็นด้วยอย่างมาก ในด้านการจัดการบ้านเรือน ด้านการถนอมอาหารและโภชนาการ ด้านการแปรรูปเพื่อเพิ่มมูลค่า และ ด้านการพัฒนาปัจจัยสี่ ในการดำรงชีพ และระดับเห็นด้วยในด้านหัตถกรรมและศิลปะประดิษฐ์ นอกจากนี้สมาชิกมีทัศนคติเห็นด้วยต่อลักษณะของนักวิชาการส่งเสริมการเกษตรผู้รับผิดชอบงานเคหกิจ เกษตร (3) สมาชิกมีปัญหาภาพรวมระดับน้อยในการส่งเสริมเคหกิจเกษตรในกลุ่มแม่บ้านเกษตร โดยปัญ ที่มีระดับปานกลางได้แก่ สมาชิกขาดจิตสำนึกในการเป็นสมาชิกกลุ่มความรับผิดชอบต่อกลุ่ม การมีส่วนร่วมในการจำหน่ายผลผลิตและผลิตของกลุ่ม และความรู้ในการแปรรูปเพื่อเพิ่มมูลค่าและหัตถกรรมศิลป ประดิษฐ์ พร้อมกับให้ข้อเสนอแนะว่า ควรมีกิจกรรมกลุ่มที่ต่อเนื่องโดยใช้วิทยากรในท้องถิ่นและ เจ้าหน้าที่ดูแลใกล้ชิด
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2549
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9875
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Agri-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
101871.pdfเอกสารฉบับเต็ม4.2 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons