กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9876
ชื่อเรื่อง: ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการยอมรับเทคโนโลยีการปลูกสับปะรดของเกษตรกรอำเภอน้ำปาด จังหวัดอุตรดิตถ์
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Factors relating to an adoption of pineapple cultivation technology by fsrmers in Nampat District, Uttaradit Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: พรชุลีย์ นิลวิเศษ, อาจารย์ที่ปรึกษา
สมจิต โยธะคง, อาจารย์ที่ปรึกษา
นิคม คำสองสี, 2503-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาส่งเสริมการเกษตร --วิทยานิพนธ์
สับปะรด--การปลูก--เทคโนโลยีที่เหมาะสม
เกษตรกร--ไทย--อุตรดิตถ์
วันที่เผยแพร่: 2549
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ปัจจัยทางสังคม เศรษฐกิจ และปัจจัยอื่น ๆ ของ เกษตรกรผู้ปลูกสับปะรด อำเภอน้ำปาด จังหวัดอุตรคิตถ์ (2) การยอมรับเทคโนโลยีการปลูกสับปะรดของ เกษตรกร (3) ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการยอมรับเทคโนโลยีการปลูกสับปะรดของเกษตรกร และ (4) ปัญหา ข้อเสนอแนะในการปลูกสับปะรดของเกษตรกร ผลการวิจัย พบว่า (1) เกษตรกรผู้ปลูกสับปะรด อำเภอนาปาด จังหวัดอุตรดิตถ์ ส่วนใหญ่เป็นเพศ ชายมีอายุเฉลี่ย 39.47 ปี จบการศึกษาประถมศึกษาภาคบังคับนับถือศาสนาพุทธ เป็นสมาชิกกลุ่มผู้ปลูกสับปะรด โดยมีประสบการณ์การปลูกสับปะรด เฉลี่ย 6.25 ปี มีพาหนะการขนส่งสับปะรดเป็นของตนเอง อาชีพหลักทำไร่ สับปะรด อาชีพรองทำไร่ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ โดยมีพื้นที่ถือครองเฉลี่ย 27.97 ไร่ พื้นที่ทำการเกษตรเฉลี่ย 25.24 ไร่ พื้นที่ปลูกสับปะรดเฉลี่ย 19.10 ไร่ จำนวนแรงงานเกษตรในครอบครัวเฉลี่ย 2.09 คน รายได้จากการปลูก สับปะรดเฉลี่ยปีละ 46,211.19 บาท รายจ่ายทั้งหมดจากการปลูกสับปะรด เฉลี่ยปีละ 31,796.61 บาท และใช้เงินทุนของตนเอง เกษตรกรมีแรงจูงใจในการปลูกสับปะรดระดับปานกลาง และมีการได้รับรู้ข่าวสารเกี่ยวกับการ ปลูกสับปะรดจากแหล่งต่าง ๆ ระดับนัอย (2) การยอมรับเทคโนโลยีการปลูกสับปะรดเชิงความคิดเห็นภาพรวม ในระดับน้อย การยอมรับเทคโนโลยีการปลูกสับปะรดเชิงปฏิบัติเกษตรกรนำไปปฏิบัติในทุกประเด็น ยกเว้น การ ใช้พันธุปัตตาเวียเป็นพันธุ์ปลูก (3) ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการยอมรับเทคโนโลยีการปลูกสับปะรดของเกษตรกร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ อายุ สถานภาพการเป็นผู้นำท้องถิ่น การได้รับข่าวสาร และแรงจูงใจในการปลูก สับปะรด (4) ระดับความรุนแรงของปัญหาที่เกษตรกรประสบในการปลูกสับปะรดภาพรวมในระดับมาก เกษตรกรมีข้อเสนอแนะให้หน่วยราชการที่เกี่ยวข้องจัดหาแหล่งสับปะรดพันธุดี อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการ ปรับปรุงบำรุงดินและการข้องกันกำจัดศัตรูสับปะรด และส่งเสริมเกษตรกรให้มีการรวมกลุ่มอย่างจริงจัง ตลอดจนขอให้รัฐบาลประกันราคาสับปะรด
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2549
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9876
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Agri-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
101906.pdfเอกสารฉบับเต็ม5.93 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons