กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9895
ชื่อเรื่อง: ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการยอมรับเทคโนโลยีการเลี้ยงโคเนื้อของเกษตรกรอำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Factors relating to adoption of beef cattle raising technology by farmers in Hauyyod District, Trang Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: พรชุลีย์ นิลวิเศษ, อาจารย์ที่ปรึกษา
สุนันท์ สีสังข์, อาจารย์ที่ปรึกษา
สวัสดิ์ คงหนู, 2503-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาส่งเสริมการเกษตร --วิทยานิพนธ์
โคเนื้อ--การเลี้ยง
วันที่เผยแพร่: 2549
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนื้มีวัตถุประสงค์เพื่อสึกษา (1) ปัจจัยทางสังคม เศรษฐกิจ และจิตวิทยาของเกษตรกร (2) สภาพการเลี้ยงโคเนื้อของเกษตรกร (3) ความรู้ในการเลี้ยงโคเนื้อของเกษตรกร (4) การยอมรับเทคโนโลยีการเลี้ยงโคเนื้อของเกษตรกร (5) ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการยอมรับเทคโนโลยีการเลี้ยงโคเนื้อของเกษตรกร (6) ปัญหาอุปสรรคและ ข้อเสนอแนะในการเลี้ยงโคเนื้อของเกษตรกร ผลการวิจัยพบว่าเกษตรกรมีอายูเฉลี่ย51.08 ปี ส่วนใหญ่จบการศึกษาระดับประถมศึกษาเป็นสมาชิก สถาบันเกษตรกร และเคยติดต่อถือสารกับเพื่อนบ้าน เจ้าหน้าที่ปสุสัตว์ และอาสาสมัครพัฒนาปสุสัตว์ ได้รับรู้ข่าวสาร เกี่ยวกับการเลี้ยงโคเนื้อในระดับน้อยที่สุค ส่วนใหญ่ได้รับการฝึกอบรมระหว่าง 1 - 2 ครั้ง เคยเดินทางออกนอกถิ่น ฐานเฉลี่ยเดือนละ 2.12 ครั้ง มีประสบการณ์ในการเลี้ยงโคเนื้อเฉลี่ย 16.14 ปี ทำสวนเป็นอาชีพหลักและเลี้ยงสัตว์เป็น อาชีพรอง จำนวนสมาชิกในครัวเรือนเฉลี่ย 4.51 คนโดยมีแรงงานเกษตรภายในครัวเรือนเฉลี่ย 2.79 คนและแรงงานที่ ใช้เลี้ยงโคเฉลี่ย 1.31 คนพื้นที่ถือครองทั้งหมดเฉลี่ย 13.81 ไร่รายได้ทั้งหมดเฉลี่ย 129,961.40 บาทและรายจ่าย ทั้งหมดในครอบครัวเฉลี่ย 92,970.72 บาท ส่วนมากมีการคู้ยืมเงิน และมีแรงจูงใจในการเลี้ยงโคเนื้อระดับปานกลาง เกษตรกรส่วนใหญ่เลี้ยงโคพื้นเมืองเฉลี่ย 4.71 ตัว เพื่อผลิตลูกขาย ใช้หญ้าธรรมชาติเลี้ยงโค ไม่เคยให้อาหารข้นและ อาหารแร่ธาตุเสริมเลย ไม่มีถารคัดเลือกโคไว้เป็นพ่อ/แม่พันธุ์ในฝูงและไม่มีการถ่ายพยาธิ เกษตรกรมีความรู้ในการ เลี้ยงโคเนื้อระดับปานกลางและมีการยอมรับเทคโนโลยีระดับปานกลางในด้านพันธุ์/การลัดเสือกพันธุ์ อาหารและการให้อาหาร โรงเรือนสำหรับโคเนื้อ การดูแลเลี้ยงดูโคเนื้อระยะต่าง ๆ และโรคและการป้องกำจัดโรค เกษตรกรนำ เทคโนโลยีด้านโรงเรือนสำหรับโคเนื้อไปปฏิบัติมากที่สุด เกษตรกรมีปัญหาอุปสรรคน้อยด้านสภาพทั่วไปและพันธุ์โคเนื้อ มีปัญหาอุปสรรคระดับปานกลางด้านอาหารโคเนื้อ โรคของโคเนื้อ เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับการเลี้ยงโคเนื้อ และการได้รับความรู้เกี่ยวกับการเลี้ยงโคเนื้อ ปัจชัยที่เกี่ยวข้องกับการยอมรับเทคโนโลยีการเลี้ยงโคเนื้อของเกษตรกร ได้แก่ เพศ ระดับการศึกษา การมีตำแหน่งทางสังคม การติดต่อสื่อสารกับเจ้าหน้าที่ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ การเกษตร พนักงานบริษัทเอกชน และอาสาพัฒนาปศุสัตว์ การเดินทางออกนอกถิ่นฐาน ประสบการณ์ในการเลี้ยงโค จำนวนแรงงานเกษตรในครอบครัว สภาวะการคู้ยืม และความรู้ในการเลี้ยงโคเนื้อ
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2549
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9895
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Agri-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
109995.pdfเอกสารฉบับเต็ม6.3 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons