Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/990
Title: การมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในเขตอำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย ตามรัฐธรรมนูญปีพุทธศักราช 2540
Other Titles: Political participation of people in Mae Sai district, Chiang Rai province according to the B.E. 2540 (A.D. 1997) constitution
Authors: ฐปนรรต พรหมอินทร์, อาจารย์ที่ปรึกษา
จุมพล หนิมพานิช, อาจารย์ที่ปรึกษา
ประพนธ์ เจียรกูล, อาจารย์ที่ปรึกษา
ดารินทร์ แก้วมูล, 2514-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชารัฐศาสตร์ -- วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการเมืองการปกครอง -- วิทยานิพนธ์
การมีส่วนร่วมทางการเมือง -- ไทย -- เชียงราย.
Issue Date: 2548
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) การมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในระดับท้องถิ่น ตามรัฐธรรมนูญฉบับปีพุทธศักราช 2540 (2) ปัญหาและอุปสรรคในการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในระดับท้องถิ่น ตามรัฐธรรมนูญฉบับปีพุทธศักราช 2540 (3) แนวทางและข้อเสนอแนะในการส่งเสริมการมีส่วนร่วม ทางการเมืองของประชาชนในระดับท้องถิ่น ตามรัฐธรรมนูญฉบับปีพุทธศักราช 2540 และ 4) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลกับการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในระดับท้องถิ่น ตามรัฐธรรมนูญฉบับปีพุทธศักราช 2540 กลุ่มตัวอย่างสำหรับการวิจัย ได้แก่ ประชาชนที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปื ขึ้นไปที่อาศัยอยู่ในเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบล ในอาเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย จำนวน 395 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสอบถามสถิติสำหรับการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่ารัอยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบไคสแควร์ ผลการศึกษาพบว่า (1) การเข้าไปมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในเขตอำเภอแม่สาย อยู่ในระดับน้อย (2) ปัญหาและอุปสรรคทั้งที่เกิดจากประชาชนและ อบต. ประชาชนเห็นว่ามีในระดับปานกลาง (3) ประชาชนเห็นด้วยในระดับมากกับการส่งเสริมรณรงค์เผยแพร่ความรู้ความเข้าใจถึงสิทธิเสรีภาพ และกระบวนการมีส่วนร่วมทางการเมืองให้มากขึ้น และต่อเนื่องจริงจัง ส่งเสริมให้เข้ามีส่วนร่วมในการตรวจสอบการทำงานของ อบต. และควรมีระบบการจูงใจแก่ผู้เข้ามามีส่วนร่วมทางการเมืองด้าน อบต. หรือพนักงาน อบต. ก็เห็นด้วยในระดับมากว่า ควรจะปรับเปลี่ยนทัศนคติโดยไม่มองประชาชนในแง่ลบ มีความจริงใจ ยอมรับ เห็นความ สำคัญของประชาชน ให้ความรู้ทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตย ส่งเสริมการรวมกลุ่มกันอย่างเป็นเครือข่าย และต้องมีการเปิดเผยข้อมลข่าวสารอย่างครบถ้วน เพียงพอต่อการตัดสินใจ (4) ปัจจัยส่วนบุคคล ซึ่งได้แก่ อายุ อาชีพ ระดับการศึกษา และการเป็นสมาชิกของกลุ่มมีความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมทางการเมืองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ส่วนเพศพบว่า มีความสัมพันธ์กับการร่วมรับรู้ในกระบวนการบริหารราชการในระดับท้องถิ่น การคิดร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และการร่วมในการตรวจสอบการใช้อำนาจขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ส่วนอีกสองประเด็นไม่มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
Description: วิทยานิพนธ์ (ร.ม. (การเมืองการปกครอง))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2548
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/990
Appears in Collections:Pol-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Thesbib89619.pdfเอกสารฉบับเต็ม6.79 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons