Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9938
Title: การบังคับใช้กฎหมายจราจรกับการสร้างความเสมอภาคในสังคมไทย
Other Titles: Enforcement of traffic law to create equality in Thai society
Authors: ธนศักดิ์ สายจำปา
นิรันดร์ สถิตย์ขราณี, 2502-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชารัฐศาสตร์
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกการเมืองการปกครอง--การศึกษาเฉพาะกรณี
ความเสมอภาค--ไทย.
กฎหมายจราจร--ไทย
การบังคับใช้กฎหมาย
การศึกษาอิสระ--การเมืองการปกครอง
Issue Date: 2559
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุเพื่อศึกษา (1) การให้อำนาจกับเจ้าหน้าที่ตำรวจในการใช้ดุลยพินิจ กับผู้กระทำความผิดกฎหมายจราจร (2) การใช้ดุลยพินิจของเจ้าหน้าที่ตำรวจในการดำเนินการกับ ผู้กระทำความผิดกฎหมายจราจรและ(3) เสนอแนะแนวทางในการดำเนินการกับผู้กระทำความผิด กฎหมายจราจรเพื่อให้เกิดความ!สมอภาคในสังคมไทย ผลการวิจัยพบว่า (1) การให้อำนาจกับเจ้าหน้าที่ตำรวจในการใช้ดุลยพินิจกับผู้กระทำ ความผิดกฎหมายจราจรเหมาะสมแล้ว เพราะเจ้าหน้าที่ตำรวจเป็นผู้นำกฎหมายมาใช้ได้และมีการ บังคับใช้กฎหมายให้เป็นไปอย่างเป็นธรรมหรือมีความ!สมอภาค ควรปฏิบัติให้เท่าเทียมกัน กรณี ของการกระทำความผิดที่ไม่ร้ายแรงควรมีการว่ากล่าวตักเตือน และมีการบันทึกไว้ในฐานข้อมูล ปรับระบบการดำเนินคดีตามกฎหมายจราจร ด้วยระบบเทคโนโลยีที่ทันสมัย เพราะช่วยลดปัญหา การเผชิญหน้ากันระหว่างเจ้าหน้าที่ตำรวจกับผู้กระทำความผิดกฎหมายจราจรทั้งทำให้การ ดำเนินคดีง่ายและโปร่งใสมากขึ้น (2) การใช้ดุลยพินิจของเจ้าหน้าที่ตำรวจในการดำเนินการกับ ผู้กระทำความผิดกฎหมายจราจรเหมาะสมแล้ว เพราะบางครั้งการกระทำผิดไม่ร้ายแรงมากสามารถ ตัดสินได้จากเจ้าหน้าที่ตำรวจ (3) ข้อเสนอแนะคือ เพี่มบทลงโทษมากขึ้นมีการบำเพ็ญประโยชน์ร่วมด้วยแต่โทษที่ร้ายแรงควรทั้งจำและปรับด้วยและยกเลิกระบบอุปถัมภ์ในสังคมไทย ทำเป็น มาตรฐานเดียวกันทั้งหมดจะทำให้กฎหมายได้ถูกใช้คับทุกคนเท่าเทียมกันเกิดความเสมอภาคคัน และมีความยุติธรรม
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9938
Appears in Collections:Pol-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
153309.pdfเอกสารฉบับเต็ม4.49 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons