Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9940
Title: | ผู้นำตามธรรมชาติกับการส่งเสริมการพัฒนาทางการเมืองท้องถิ่นกรณีศึกษานายประยงค์ รณรงค์ ตำบลไม้เรียง อำเภอฉวาง จังหวัดนครศรีธรรมราช |
Other Titles: | Natural leader and promoting the development of local politics : a case study of Mr. Prayong Ronnarong, Tambol Mai Riang, Chawang District, Nakhon Si Thammarat Province |
Authors: | ธีรภัทร์ เสรีรังสรรค์ ณัฐชยา เทวฤทธิ์, 2526- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชารัฐศาสตร์ |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกการเมืองการปกครอง--การศึกษาเฉพาะกรณี ผู้นำ--กิจกรรมทางการเมือง การศึกษาอิสระ--การเมืองการปกครอง มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชารัฐศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี |
Issue Date: | 2559 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้วัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ปัจจัยทางการเมืองที่มีอิทธิพลต่อการจัดสรรงบประมาณของเมืองพัทยา (2) กระบวนการทางการเมืองในการจัดสรรงบประมาณของเมืองพัทยา และ (3) ปัญหาและข้อเสนอแนะของการชัดสรรงบประมาณของเมืองพัทยา การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์เชิงลึก กลุ่มตัวอย่างเลือกแบบ เจาะจง ได้แก่ กลุ่มการเมืองที่มาจากการเลือกตั้ง จำนวน 3 คน กลุ่มภาคราชการหรือเจ้าหน้าที่รัฐ จำนวน 3 คน กลุ่มผู้นำชุมชนหรือภาคประชาสังคม จำนวน 3 คน กลุ่มนักวิชาการ จำนวน 3 คน กลุ่มภาคเอกชน จำนวน 3 คน กลุ่มสื่อมวลชนที่เกี่ยวข้อง จำนวน 3 คน และกลุ่มประชาชนในเขต เมืองพัทยา จำนวน 3 คน เครื่องมือที่ใช้คือแบบสัมภาษณ์เชิงลึกและการสังเกตของผู้วิจัย การ วิเคราะห์ข้อมูลการสัมภาษณ์แบบการพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า (1) การมีส่วนร่วมของประชาชนมีผลต่อการจัดสรรงบประมาณของ เมืองพัทยา โดยการนำปัญหาของประชาชนมาเข้าสู่กระบวนการจัดทำแผนพัฒนาสามปี ซึ่งความสามารถของสมาชิกสภาเมืองพัทยาและฐานเสียงก็มีส่วนสำคัญในการให้ได้มาซึ่งงบประมาณ (2) กระบวนการจัดเตรียมงบประมาณของเมืองพัทยา มีลักษณะเป็นไปตามหลักเกณฑ์และขั้นตอนการจัดทำงบประมาณตามระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยวิธีการงบประมาณกำหนดโดยการกำหนดนโยบายของผู้บริหาร การพิจารณานโยบายของรัฐบาลการดำเนินการตามหนังสือสั่งการ เป็นการวางแผนพัฒนาเมืองพัทยาล่วงหน้าซึ่งใช้ข้อมูลพื้นฐานจากชุมชน (3) ปัญหาได้แก่ งบประมาณมีไม่เพียงพอ และกรอบอำนาจหน้าที่ในทางปฏิบัติมีหลายโครงการที่มิอาจวินิจฉัยได้ว่า อยู่ในอำนาจหน้าที่ที่เมืองพัทยาดำเนินการได้หรือไม่ จึงเป็นปัญหาในการดีความตามตัวบท กฎหมาย สำหรับข้อเสนอแนะ รัฐบาลควรสนับสนุนเงินอุดหนุนให้แก่เมืองพัทยามากขึ้น และควร ให้เจ้าหน้าที่เร่งรัดในการจัดเก็บภาษีให้มากขึ้นเพื่อการบริหารงบประมาณได้ครอบคลุม |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9940 |
Appears in Collections: | Pol-Independent study |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
153313.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 6.27 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License