กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9942
ชื่อเรื่อง: บทบาทของพระราชธรรมนิเทศ (พระพยอม กลฺยาโณ) กับการเมืองในระบอบประชาธิปไตยของไทย
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Roles of Phra Ratchdhamanithet (Prapayom Kanlayano) and democracy in Thailand
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ธีรภัทร์ เสรีรังสรรค์, อาจารย์ที่ปรึกษา
พรรณยมล เชยเกษร, 2526-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชารัฐศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกการเมืองการปกครอง --การศึกษาเฉพาะกรณี
พุทธศาสนากับการเมือง--ไทย
สงฆ์--กิจกรรมทางการเมือง.
การศึกษาอิสระ--การเมืองการปกครอง
วันที่เผยแพร่: 2559
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้วัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) บทบาทของพระราชธรรมนิเทศ (พระพยอม กลฺยาโณ) กับการเมืองในระบอบประชาธิปไตยของไทยในมิติอุดมการณ์วิธีการ และวิถีชีวิต และ (2) ปัญหาและอุปสรรคเกี่ยวกับบทบาทของพระสงฆ์กับการเมืองในระบอบประชาธิปไตยของไทย ผลการวิจัยพบว่า (1) บทบาทของพระราชธรรมนิเทศ (พระพยอม กลฺยาโณ) ประเด็น อุดมการณ์ มีการใช้รูปแบบและวิธีการสื่อสารในการเผยแผ่พระธรรมคำสอนจากการนำข่าว เหตุการณ์ปัจจุบันต่างๆ มาพูดถึงเพื่อโยงให้เข้าถึงธรรมะช่วยยุติความขัดแย้งทางการเมือง ประเด็น วิธีการ แนะนำให้ใช้ธรรมะนำการเมืองเพื่อให้นักการเมืองมีศีลธรรมคุณธรรมปกครองบ้านเมืองให้ ถูกต้องและบทบาทแนะนำให้ประชาชนมีความสามัคคีทางการเมืองไม่แตกแยกทางความคิด และ ประเด็นวิถีชีวิต มีบทบาทในการสังคมสงเคราะห์ช่วยเหลือผู้ยากไร้ ก่อตั้งมูลนิธิวัดสวนแก้วเพื่อ ช่วยให้ทุกคนมีพื้นฐานจิตใจที่ดี (2) ปัญหาและอุปสรรคเกี่ยวกับบทบาทของพระสงฆ์กับการเมือง ในระบอบประชาธิปไตยของไทย ได้แก่ ปัญหากฎระเบียบของสงฆ์ที่บัญญัติออกมาเพื่อให้พระ ปฏิบัติตามโดยพระไม่มีส่วนร่วมในการกำหนดแนวทางการปฏิบัติตนเองได้ รัฐขาดความเข้าใจและ ไม่สนับสนุนพระพุทธศาสนาอย่างจริงจัง ดังนั้น การที่พระสงฆ์แสดงความคิดเห็นทางการเมือง หรือร่วมบรรยายเสวนาที่ปรากฏตามสื่อต่างๆ ในปัจจุบัน พระสงฆ์จำเป็นต้องตั้งอยู่ในธรรม วางตัว เป็นกลาง มุ่งแสดงธรรมเพื่อประโยชน์ของประชาชนส่วนรวม
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9942
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Pol-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
153823.pdfเอกสารฉบับเต็ม14.38 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons