กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9966
ชื่อเรื่อง: ความสัมพันธ์เชิงอำนาจของผู้มีอิทธิพลกับการบุกรุกพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติจังหวัดหนึ่งในภาคตะวันตกของประเทศไทย
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Power relations of influencers and invasions of National Reserved forest areas in a province in the Western Region of Thailand
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: วรวลัญช์ โรจนพล
ณัฏฐพงษ์ จุฑาพันธ์สวัสดิ์, 2527-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชารัฐศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกการเมืองการปกครอง--การศึกษาเฉพาะกรณี
การบุกรุก
ป่าสงวน--ไทย
นายทุน--ไทย
การศึกษาอิสระ--การเมืองการปกครอง
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชารัฐศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี
วันที่เผยแพร่: 2562
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ลักษณะของความสัมพันธ์เชิงอำนาจของผู้มีอิทธิพลกับการบุกรุกพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ จังหวัดหนึ่งในภาคตะวันตกของประเทศไทย 2) สาเหตุที่เอื้อให้เกิดการบุกรุกพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติจังหวัดหนึ่งในภาคตะวันตกของประเทศไทยของผู้มีอิทธิพล 3) ข้อเสนอแนะและแนวทางในการแก้ไขปัญหาการบุกรุกพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติจังหวัดหนึ่งในภาคตะวันตกของประเทศไทยของผู้มีอิทธิพล การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ กลุ่มบุคคล 6 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่ 1 เจ้าหน้าที่ป่าไม้ 1 คน กลุ่มที่ 2 นายทุน 1 คน กลุ่มที่ 3 นักปกครองท้องที่ 2 คน กลุ่มที่ 4 ชาวบ้าน 6 คน กลุ่มที่ 5 เจ้าหน้าที่ตำรวจ 1 คน กลุ่มที่ 6 เจ้าหน้าที่ทหาร 1 คน รวมทั้งสิ้นจำนวน 12 คน ผลการศึกษาพบว่า 1) ลักษณะของความสัมพันธ์เชิงอำนาจของผู้มีอิทธิพลกับการบุกรุกพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติจังหวัดหนึ่งในภาคตะวันตกของประเทศไทย เป็นความสัมพันธ์ในระบบอุปถัมภ์ ที่มีนายทุนผู้มีอิทธิพลเป็นผู้ให้การอุปถัมภ์ โดยมีผู้ใหญ่บ้านและชาวบ้านเป็นผู้รับการอุปถัมภ์ 2) สาเหตุที่เอื้อให้เกิดการบุกรุกพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติจังหวัดหนึ่งในภาคตะวันตกของประเทศไทย 3) ข้อเสนอแนะและแนวทางในการแก้ไขปัญหาการบุกรุกพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติจังหวัดหนึ่งในภาคตะวันตกของประเทศไทย คือ การสร้างจิตสำนึกให้ชาวบ้านรักและหวงแหนที่ทำกินเพื่อให้เป็นมรดกตกทอดแก่ลูกหลาน ช่วยกันสอดส่องดูแลเจ้าหน้าที่ที่ประพฤติมิชอบในหน้าที่จากการรับสินบนจากนายทุน ตลอดจนการให้ความรู้ความเข้าใจกับชาวบ้านในสิทธิ์ที่ทำกินที่มีเอกสารสิทธิ์ทำกินว่า ห้ามนำไปซื้อขาย
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9966
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Pol-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
161877.pdfเอกสารฉบับเต็ม13.62 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons