กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9974
ชื่อเรื่อง: บทบาทของหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นในการหาเสียงเลือกตั้ง : ศึกษาเฉพาะกรณีการเลือกตั้งนายกเทศมนตรีและสมาชิกสภาเทศบาลเมืองมาบตาพุด เมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน 2549
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Roles of local newspapers in election campaigning : a case study of election of major and municipality members in Mabtaput on 12 November 2006
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ชุมพล หนิมพานิช
ภิญญ์สินี ศิริภาณุพงศา, 2502-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชารัฐศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการเมืองการปกครอง--การศึกษาเฉพาะกรณี
หนังสือพิมพ์ท้องถิ่น--ไทย--ระยอง
การเลือกตั้งท้องถิ่น--ไทย--ระยอง
การศึกษาอิสระ--การเมืองการปกครอง
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชารัฐศาสตร์ -- การศึกษาเฉพาะกรณี
วันที่เผยแพร่: 2549
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาค้นคว้าอิสระครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสึศึกษา (1) บทบาทของหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นในการหาเสียงเลือกตั้งนายกเทศมนตรีและสมาชิกสภาเทศบาลเมืองมาบตาพุด จังหวัดระยอง เมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน 2549 (2) บทบาทของกลุ่มการเมืองท้องถิ่น ในการใช้หนังสือพิมพ์ในการหาเสียงเลือกตั้ง (3) พฤติกรรมในการลงคะแนนเสียงเลือกตั้งนายกเทศมนตรีและสมาชิกสภา เทศบาลเมืองมาบตาพุด จังหวัดระยอง เมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน 2549 และ (4) ปัจจัยที่มีผลต่อ บทบาทของหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นในการเลือกตั้งนายกเทศมนตรีและสมาชิกสภาเทศบาลเมืองมาบ ตาพุด จังหวัดระยอง เมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน 2549 ประชากรและกลุ่มตัวอย่างคือ ผู้มีสิทธิเล็กทั้งสมาชิกนายกเทศมนตรีและสนาชิกสภาเทศบาลเมืองมาบตาพุด จังหวัดระยอง จำนวน 200 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูล ส่วนวิธีที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าร้อยละและค่าเฉลี่ยเป็นสำคัญร่วมกับการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า (1) หนังสือพิมพ์ท้องถิ่นมีบทบาทต่อการเลือกตั้งนายกเทศมนตรีและ สมาชิกสภาเทศบาลเมืองมาบตาพุดในระดับปานกลาง โดยหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นช่วยนำเสนอ นโยบายผู้สมัครกลุ่มต่างๆ (2) กลุ่มการเมืองที่ใช้หนังสือพิมพ์ท้องถิ่นมีบทบาทในการหาเสียงเลือก ตั้งอยู่ในระดับปานกลาง (3) สื่อที่กลุ่มตัวอย่างใช้ในการติดตามข่าวสารทางการเมืองเกี่ยวกับการ เลือกตั้งนายกเทศมนตรีและสมาชิกสภาเทศบาลมากที่สุดคือ สื่อสิ่งพิมพ์และป้ายโฆษณา และ (4) ปัจจัยด้านเพศ อายุ การศึกษา อาชีพ และรายได้ ไม่มีความสัมพันธ์กับบทบาทของหนังสือพิมพ์ ท้องถิ่นในการหาเสียงเลือกตั้ง
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9974
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Pol-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
119899.pdfเอกสารฉบับเต็ม4.32 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons