กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9975
ชื่อเรื่อง: ความสัมพันธ์เชิงการเมืองระหว่างชุมชนคีรีวงกับองค์การบริหารส่วนตำบลกำโลน อำเภอลานสกา จังหวัดนครศรีธรรมราช
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Political relationship between Keereewong Community and Gumlone Subdistrict Administrative Organization Lansaka District, Nakhonsrithammarat Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: รสลิน ศิริยะพันธุ์
พวงเพชร เส้งสุย, 2518-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชารัฐศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการเมืองการปกครอง--การศึกษาเฉพาะกรณี
องค์การบริหารส่วนตำบลกำโลน--แง่การเมือง
ชุมชน--แง่การเมือง
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชารัฐศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี
วันที่เผยแพร่: 2552
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ลักษณะความสัมพันธ์เชิงการเมืองระหว่างชุมชนคีรีวงกับ องค์การบริหารส่วนตำบลกำโลน อำเภอลานสกา จังหวัดนครศรีธรรมราช (2) ผลกระทบที่เกิดจากความสัมพันธ์ เชิงการเมืองระหว่างชุมชนคีรีวงกับองค์การบริหารส่วนตำบลกำโลน อำเภอลานสกา จังหวัดนครศรีธรรมราช ผลการวิจัยพบว่า (1) ลักษณะความสัมพันธ์เชิงการเมืองระหว่างชุมชนคีรีวงกับองค์การบริหารส่วน ตำบลกำโลม มี 3 ลักษณะ คือ 1.1 การสนับสมุนการเข้าสู่อำนาจของนักการเมืองท้องถิ่น โดยการให้ทุนสนับสมุนนักการเมืองท้องถิ่นในการลงสมัครรับเลือกตั้งและการหาเสียง การเป็นหัวคะแนนและฐานเสียงให้กับ นักการเมืองและช่วยรณรงค์ประชาสัมพันธ์ในการเลือกตั้ง 1.2 การเป็นกสุ่มผลประโยชน์ของชุมชนคีรีวง โดยการ รวบรวมเสนอข้อเรียกร้องของชุมชน เสนอแผนงานและโครงการ การกำหนดนโยบายการเข้าร่วมสังเกตการณ์ การประชุมสภาองค์การบริหารส่วนตำบล และการมีอิทธิพลต่อการจัดสรรงบประมาณขององค์การบริหารส่วน ตำบล และ 1.3 การเป็นประชาคมร่วมตรวจสอบนโยบายการดำเนินงานขององค์การบริหารส่วนตำบล โดยการ ตรวจสอบการชัดสรรงบประมาณ การใช้งบประมาณขององค์การบริหารส่วนตำบล การตรวจสอบด้านการ บริหารงานขององค์การบริหารส่วนตำบล และการตรวจสอบต้านการกำหนดกิจกรรมและการดำเนินการตาม โครงการขององค์การบริหารส่วนตำบล (2) ความสัมพันธ์เชิงการเมืองระหว่างชุมชนคีรีวงกับองค์การบริหารส่วน ตำบลกำโลน ก่อให้เกิดผลกระทบ 3 ประการ คือ 2.1 ผลกระทบต่อการเมืองห้องถิ่นในเรื่องของค่าใช้จ่ายในการ เลือกตั้ง ปัญหาการซื้อสิทธิขายเสียง การเกิดระบบอุปถัมภ์ในการเลือกตั้ง และการทุจริตคอรัปชันในการทำงาน ของนักการเมืองห้องถิ่น 2.2 ผลกระทบต่อชุมชนคีรีวง อาทิ การที่ข้อเสนอและข้อเรียกร้องของชุมชนได้รับการ สนองตอบ การดำเนินกิจกรรมโครงการขององค์การบริหารส่วนตำบลตรงตามความต้องการของชุมชนคีรีวง รวมทั้งการมีบทบาทของชุมชนในการติดตามตรวจสอบการดำเนินงานขององค์การบริหารส่วนตำบล และ 2.3 ผลกระทบที่มีต่อการบริหารงานขององค์การบริหารส่วนตำบล คือความคุ้มค่าของการใช้งบประมาณ ประสิทธิภาพประสิทธิผลของการบริหารงานขององค์การบริหารส่วนตำบล และการดำเนินกิจกรรมโครงการ ขององค์การบริหารส่วนตำบลตรงตามความต้องการของชุมชนคีรีวง
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9975
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Pol-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
125710.pdfเอกสารฉบับเต็ม6.85 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons