กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9977
ชื่อเรื่อง: ฐานอำนาจทางการเมืองในจังหวัดอ่างทองของนายสมศักดิ์ ปริศนานันทกุล
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Political power in Angthong Province of Mr. Somsak Pritsananantakul
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: รสลิน ศิริยะพันธุ์
พัฒนชัย สีนอเพีย, 2511-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชารัฐศาสตร์
คำสำคัญ: สมศักดิ์ ปริศนานันทกุล, 2494- --กิจกรรมทางการเมือง
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการเมืองการปกครอง--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชารัฐศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี.
วันที่เผยแพร่: 2552
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ฐานอำนาจในจังหวัดอ่างทองของนายสมศักดิ์ ปริศนานันทกุล (2) วิขีการสร้างฐานอำนาจทางการเมืองในจังหวัดอ่างทองของนายสมศักดิ์ ปริศนานันทกุล (3) ปัจจัยสนับสนนฐานอำนาจทางการเมืองในจังหวัดอ่างทองของนายสมศักดิ์ ปริศนานันทกุล การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยศึกษาข้อมูลจากเอกสารที่เกี่ยวข้องและสัมภาษณ์ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ นายสมศักดิ์ ปริศนานันทกุล และสัมภาษณ์เจาจาะลึกกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 3 กลุ่ม ได้แก่ (1) กลุ่มข้าราชการในพื้นที่ 4 ราย (2) กลุ่มนักการเมืองในพื้นที่ 5 ราย (3) กลุ่มภาคประชาชน 1 ราย วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา และบรรยายเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า (1) นายสมศักดิ์ปริศนานันทกุล มีฐานอำนาจในจังหวัดอ่างทอง ในส่วน ฐานอำนาจทางสังคม วัฒนธรรม มีมากจากการนำความเจริญมาสู่ท้องถิ่น ความเป็นบุคคลที่มีชื่อเสียงมาก ฐานอำนาจทางเศรษฐกิจมีค่อนข้างน้อยเพราะไม่ได้เกี่ยวกับการทำกิจการของครอบครัว และฐาน อำนาจทางการเมืองสูงตามความสามารถในการช่วยเหลือสนับสนุนนักการเมืองท้องถิ่นให้ได้รับการ เลือกตั้ง การช่วยเหลือสนับสนุนข้าราชการในพื้นที่ให้เจริญก้าวหน้า การช่วยเหลือสนับสนุน อุปถัมภ์ ประชาชนในพื้นที่ในการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ การได้รับการยอมรับจากนักการเมืองและสาธารณชน และ การมีบทบาทชี้นำแนวคิดและแนวทางแก้ไขปัญหาในทางการเมือง (2) วิธีสร้างฐานอำนาจทางการเมืองใน จังหวัดอ่างทอง ของนายสมศักดิ์ ปริศนานันทกุล สามารถแบ่งได้เป็น 3 ช่วง คือ ช่วงก่อนเข้าสู่วง การเมืองโดยการมีกิจกรรมและมีส่วนร่วมทางการเมือง ช่วงเข้าเป็นสมาชิกพรรคการเมืองโดยผ่านการมี บทบาทหน้าที่นักการเมือง และช่วงดำรงตำแหน่งทางการเมือง โดยผ่านการทำหน้าที่ในบทบาท สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรบทบาทรัฐมนตรี และบทบาทรองประธานสภาผู้แทนราษฎร (3) ปัจจัยที่ สนับสนุนฐานอำนาจทางการเมืองในจังหวัดอ่างทองของนายสมศักดิ์ ปริศนานันทกุล แบ่งออกเป็น 2 ปัจจัย คือ ปัจจัยส่วนบุคคล คือ บุคลิกภาพ ความรู้ความสามารถ ความคิดความเชื่อ อุดมการณ์ทาง การเมือง และปัจจัยที่เกิดจากองค์ประกอบภายนอก คือ การสนับสนุนจากครอบครัว การสนับสนุนจาก พรรคการเมือง การสนับสบุนจากนักการเมืองท้องถิ่น การสนับสบุนจากข้าราชการในพื้นที่ และการ สนับสนุนจากประชาชน
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9977
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Pol-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
134176.pdfเอกสารฉบับเต็ม8.63 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons