Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9987
Title: แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของพนักงานบริษัท คริสเตียนีและนีลเส็น (ไทย) จำกัด (มหาชน)
Other Titles: Motivation in working of employees of Chirstiani & Nielsen (Thai) Public Company Limited
Authors: ชนินทร์ ชุณหพันธรักษ์, อาจารย์ที่ปรึกษา
ศุภวัฒน์ ไชยประพันธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ --การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารธุรกิจ --การศึกษาเฉพาะกรณี
การจูงใจ (จิตวิทยา)
การจูงใจในการทำงาน
การศึกษาอิสระ--บริหารธุรกิจ
Issue Date: 2556
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาระดับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของพนักงานบริษัท คริสเตียนีและนีลเส็น (ไทย) จำกัด (มหาชน) (2) เปรียบเทียบระดับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของพนักงาน บริษัทคริสเตียนีและนีลเส็น (ไทย) จำกัด (มหาชน) จำแนกตามคุณลักษณะส่วนของบุคคล (3) เสนอแนะแนวทาง ในการเสริมสร้างแรงจูงใจในการทำงานของพนักงานบริษัท คริสเตียนีและนีลเส็น (ไทย) จำกัด (มหาชน) การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ ประชากรที่ใช้ในการศึกษา คือ พนักงานบริษัท คริสเตียนี และนีลเส็น (ไทย) จำกัด (มหาชน) จำนวน 1,620 คน โดยกลุ่มตัวอย่างได้จากการคำนวณตามสูตรของ ทาโรยามาเน่ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 321 คน โดยใช้วิธีสุ่มตัวอย่าง อย่างง่ายเครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาคือ แบบสอบถาม โดยมีค่าความเชื่อมันเท่ากับ 0.97 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย เลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การทดสอบความแปรปรวนแบบทางเดียว และการทดสอบ ความแตกต่างเป็นรายคู่ด้วยวิธีผลต่างทางนัยสำคัญทางสถิติ ผลการศึกษาพบว่า (1) ระดับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของพนักงานบริษัท คริสเตียนีและนีลเส็น (ไทย) จำกัด (มหาชน) โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง โดยเรียงลำดับ คือ ด้านความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน ด้านการปกครองบังคับบัญชา ด้านสภาพการทำงานและความมั่นคง ด้านความก้าวหน้าของงาน ด้านความ รับผิดชอบ ด้านความสำเร็จของงาน ด้านลักษณะของงาน ด้านการยอมรับนับถืองาน ด้านนโยบายและการ บริหาร และด้านผลประโยชน์ตอบแทนและสวัสดิการ (2) พนักงานบริษัท คริสเตียนีและนีลเส็น (ไทย) จำกัด (มหาชน) ที่มีเพศอายุสถานภาพ และรายได้ต่อเดือนที่แตกต่างกัน มีแรงจูงใจในการปฏิบัติงานไม่แตกต่างกัน ส่วนพนักงานที่มีระดับการศึกษา ระยะเวลาในการทำงาน และตำแหน่งงานที่แตกต่างกัน มีแรงจูงใจใน การปฏิบัติงานแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 (3) ผู้บริหารควรเสริมสร้างแรงจูงใจในการ ปฏิบัติงาน ด้านผลประโยชน์ตอบแทนและสวัสดิการ โดยการปรับฐานเงินเดือน ค่ารักษาพยาบาลให้ สอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจ และสถานการณ์ปัจจุบันของบริษัทฯ
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9987
Appears in Collections:Manage-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
142599.pdfเอกสารฉบับเต็ม15 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons