กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9988
ชื่อเรื่อง: แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของพนักงานบริษัท เวิร์ลโคเกียว (ประเทศไทย) จำกัด
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Motivation in working of employees of World Kogyo (Thailand) Company Limited
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ชนินทร์ ชุณหพันธรักษ์, อาจารย์ที่ปรึกษา
ศุลีพร บัวชุม
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารธุรกิจ --การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ --การศึกษาเฉพาะกรณี
การจูงใจในการทำงาน--การศึกษาเฉพาะกรณี
การศึกษาอิสระ--บริหารธุรกิจ
วันที่เผยแพร่: 2556
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาระดับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของพนักงาน บริษัท เวิร์ล โคเกียว (ประเทศไทย) จํากัด (2) เปรียบเทียบระดับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของพนักงาน บริษัท เวิร์ล โคเกียว (ประเทศไทย) จํากัด จําแนกตามคุณลักษณะส่วนบุคคล การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสํารวจ ประชากรที่ใช้ในการศึกษา คือ พนักงานบริษัท เวิร์ล โคเกียว (ประเทศไทย) จํากัด จํานวน 50 คน โดยใช้ประชากรทั้งหมด เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวม ข้อมูลเป็นแบบสอบถาม ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.917 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การทดสอบความแปรปรวนแบบทางเดียว และการทดสอบความแตกต่างเป็นรายคู่ด้วยวิธีผลต่างนัยสําคัญทางสถิติ ผลการศึกษาพบว่า (1) แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของพนักงานบริษัท เวิร์ล โคเกียว (ประเทศไทย) จํากัด ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน แรงจูงใจที่อยู่ในระดับมากคือ ด้านความสําเร็จในงาน ด้านความรับผิดชอบต่องาน ด้านความรู้สึกได้รับการยอมรับ ด้านลักษณะของงาน ด้านความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน ด้านระดับและคุณภาพของการบังคับบัญชา ด้านสภาพการทํางาน และด้านความมั่นคงในงานส่วนแรงจูงใจที่อยู่ในระดับปานกลาง คือ ด้านโอกาสก้าวหน้า ด้านนโยบาย และการบริหารงานขององค์การ และด้านเงินเดือนและค่าตอบแทน (2) ผลการเปรียบเทียบแรงจูงใจ ในการปฏิบัติงาน จําแนกตามลักษณะส่วนบุคคล คือ พนักงานที่มีคุณลักษณะส่วนบุคคลด้านระดับ การศึกษา และอายุงานที่แตกต่างกันมีแรงจูงใจในการปฏิบัติงานแตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ ระดับ 0.05 ส่วนพนักงานที่มีลักษณะส่วนบุคคลด้านเพศ อายุ สถานภาพสมรส ตําแหน่งงาน และรายได้ที่ แตกต่างกันมีแรงจูงใจในการปฏิบัติงานที่ไม่แตกต่างกัน
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9988
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Manage-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
145855.pdfเอกสารฉบับเต็ม11.71 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons