กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9989
ชื่อเรื่อง: ปัจจัยที่มีผลต่อแรงจูงใจในการทำงานของพนักงานบริษัท คอมมิวนิเคชั่น แอนด์ ซิสเต็มส์ โซลูชั่น จำกัด (มหาชน)
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Factors affecting work motivation of imployees in Communication and System Solution Public Company Limited
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ศรีธนา บุญญเศรษฐ์, อาจารย์ที่ปรึกษา
โศจิกานต์ จันทรมาศ
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ --การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารธุรกิจ --การศึกษาเฉพาะกรณี
การจูงใจ (จิตวิทยา)
การศึกษาอิสระ--บริหารธุรกิจ
การทำงาน
วันที่เผยแพร่: 2556
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษานี้มีวัตถุประสงคเพื่อ (1) ศึกษาระดับแรงจูงใจในการทำงานของพนักงานบริษัท คอมมิวนิเคชั่น แอนด์ซิสเต็มสโซลูชั่น จํากัด (มหาชน) (2) ศึกษาปัจจัยการบริหารองค์กรที่มีผลต่อ แรงจูงใจในการทำงานของพนักงานบริษัท คอมมิวนิเคชั่น แอนด์ซิสเต็มสโซลูชั่น จํากัด (มหาชน) และ (3) เปรียบเทียบแรงจูงใจในการทำงานของพนักงานบริษัท คอมมิวนิเคชั่น แอนด์ซิสเต็มส์ โซลูชั่น จํากัด (มหาชน) จําแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล ประชากรที่ใช้ในการศึกษาคือ พนักงานของบริษัท คอมมิวนิเคชั่น แอนด์ซิสเต็มส์ โซลูชั่น จํากัด (มหาชน) จํานวน 350 คน โดยกำหนดกลุ่มตัวอย่างด้วยการคำนวณได้กลุ่มตัวอย่าง จํานวน 187 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิและการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย เครื่องมือที่ใชในการ เก็บขอมูลเป็นแบบสอบถามและวิเคราะห์ข้อมูลโดยร้อยละค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การ ทดสอบด้วยค่าสถิติทีการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวการทดสอบผลต่างนัยสำคัญนัอยที่สุด และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ผลการศึกษาพบว่า (1) แรงจูงใจในการทำงานของพนักงานบริษัท คอมมิวนิเคชั่นแอนด์ซิสเต็มส์โซลูชั่น จํากัด (มหาชน) ในภาพรวมอยู่ในระดบมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายปัจจัยพบว่า ทั้งปัจจยค้ำจุนและปัจจยจูงใจอยู่ในระดับมากที่สุด (2) ปัจจัยการบริหารองค์กรที่มีผล ต่อแรงจูงใจในการทำงานของพนักงานบริษัท คอมมิวนิเคชั่น แอนด์ซิสเต็มส์โซลูชั่น จํากัด (มหาชน) ได้แก่การควบคุมและการนำหรือการสั่งการ ซึ่งทำนายแรงจูงใจในการทำงานของ พนักงานได้ร้อยละ 81 (3) พนักงานที่มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนที่แตกต่างกันมีแรงจูงใจในการทำงาน แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 แต่พนักงานที่มีเพศอายุระดับการศึกษา สายงาน ที่สังกัด ระยะเวลาในการทำงานตําแหน่งงาน และสาขาที่สังกัดแตกต่างกัน มีแรงจูงใจในการ ทํางานไม่แตกต่างกัน
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9989
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Manage-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
142600.pdfเอกสารฉบับเต็ม11.8 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons