Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9991
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสุวีณา ตั่งโพธิสุวรรณ, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.authorสมควร ไชยเทศ-
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการth_TH
dc.date.accessioned2023-10-20T03:58:12Z-
dc.date.available2023-10-20T03:58:12Z-
dc.date.issued2556-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9991-
dc.description.abstractการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ระดับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของพนักงานฝ่าย ผลิตเบเกอรี่ บริษัท ซีพีแรม จำกัด สาขาลาดกระบัง (2) ระดับความคิดเห็นต่อค่านิยมองค์กรของพนักงานฝ่าย ผลิตเบเกอรี่ (3) ความแตกต่างของแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของพนักงานฝ่ายผลิตเบเกอรี่จำแนกตามปัจจัยส่วน บุคคลและ (4) ความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจในการปฏิบัติงานกับค่านิยมองค์การของพนักงานฝ่ายผลิตเบเกอรี่ การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ ประชากรที่ใช้ในการศึกษาคือ พนักงานฝ่ายผลิต เบเกอรี่ บริษัท ซีพีแรม จำกัด สาขาลาดกระบัง จำนวน 502 คน โดยกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างจากสูตร การคำนวณของทาโรยามาเน่ ได้จำนวนทั้งสิ้น 230 คน ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวม ข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ สถิติเชิงพรรณนาคือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมานคือ การทดสอบค่าที การทดสอบค่าเอฟ การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการ หาค่าสัมประสิทธิ์สัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการศึกษาพบว่า (1) ระดับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของพนักงานฝ่ายผลิตเบเกอรี่ด้านปัจจัย จูงใจและปัจจัยค้ำจุนโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายปัจจัยพบว่า ปัจจัยด้านจูงใจมีแรงจูงใจที่อยู่ ในสามลำดับแรก คือ ด้านความสำเร็จในงานที่ทำ ด้านลักษณะงานที่ทำและด้านการมีหน้าที่ความรับผิดชอบ ส่วนปัจจัยค้ำจุนมีแรงจูงใจที่อยู่ในสามลำดับแรก คือ ด้านความสัมพันธ์กับผู้บังคับบัญชา ด้านความมั่นคง ในงาน และด้านวิธีปกครองของผู้บังคับบัญชา (2) ระดับความคิดเห็นต่อค่านิยมองค์การของพนักงานฝ่าย ผลิตเบเกอรี่โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้านตามลำดับพบว่า ด้านคุณธรรม อยู่ในระดับ มากที่สุด รองลงมาคือ ด้านสานมนุษยสัมพันธ์ ด้านหมั่นสร้างผลงาน ด้านทัศนคติที่ดี และด้าน ความคิด สร้างสรรค์ (3) ความแตกต่างของแรงจูงใจในการปฏิบัติงาน เมื่อจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า ระดับ การศึกษา ศาสนา อายุงาน รายได้เฉลี่ยต่อเดือน และจุดปฏิบัติงาน ที่แตกต่างกันมีแรงจูงใจในการปฏิบัติงาน แตกต่างกัน ส่วนด้านเพศ อายุ สถานภาพการสมรส ที่แตกต่างกันมีแรงจูงใจในการปฏิบัติงานไม่แตกต่างกัน และ (4) ความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจในการปฏิบัติงานกับค่านิยมองค์การของพนักงานฝ่ายผลิต เบเกอรี่ มีความสัมพันธ์อยู่ในระดับมาก และมีความสัมพันธ์ไปในทิศทางเดียวกันเมื่อแรงจูงใจในการ ปฏิบัติงานอยู่ในระดับมาก ความคิดเห็นด้านค่านิยมองค์การก็อยู่ในระดับมากเช่นเดียวกันth_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothth_TH
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/-
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ --การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารธุรกิจ --การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectการจูงใจในการทำงานth_TH
dc.subjectการศึกษาอิสระ--บริหารธุรกิจth_TH
dc.titleแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของพนักงานฝ่ายผลิตเบเกอรี่ บริษัท ซีพีแรม จำกัด สาขาลาดกระบังth_TH
dc.title.alternativeWork motivation of bakery production staff of CPRAM Company Limited, Lat Krabang Branchth_TH
dc.typeThesisth_TH
dc.degree.nameบริหารธุรกิจมหาบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชาวิทยาการจัดการth_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeThe objectives of this independent study were: (1) to study the level of work motivation of bakery production staff of CPRAM Company Limited, Lat Krabang Branch; (2) to study the opinion’s level of organizational core value of bakery production staff; (3) to compare level of work motivation of bakery production staff classified by personal factors; and (4) to study the relationship between work motivation and organization core values of bakery production staff. The population of this survey research consisted of 502 bakery production staffs of CPRAM Company Limited, Lat Krabang Branch. The 230 samples were selected by calculation of Taro Yamane formula. A constructed questionnaires was used as a tool to collect data. The descriptive statistics employed for data analysis were frequency, percentage, mean and standard deviation and inferential statistics were t- test, F-test, one-way ANOVA, and Pearson’s product moment correlation coefficient. The results showed that: (1) the level of work motivation of bakery production staff was overall at a high level. Considering each factor, it was found that three high motivation factors were work achievement, work itself, and responsibility, while three high hygiene factor were interpersonal relation, job security, and supervision; (2) the opinion’s level of organizational core value of bakery production staff was overall at a high level. Considering each factor, it was found that moral aspect was at the highest level, followed by interwoven relationship, creating work, good attitude and creative thinking respectively; (3) the comparison of work motivation classified by personal factors revealed that the staffs with different levels of education, religions, durations of work, average income per month, and operating point had different work motivation, while the staffs with different genders, ages, and marital status had no different work motivation; and (4) the relationship between work motivation and organizational core value of bakery production staff was correlated at a high level and the relationship was correlated the same direction, that is, when work motivation was at a high level, so was the organizational core valueen_US
Appears in Collections:Manage-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
140214.pdfเอกสารฉบับเต็ม6.79 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons