กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1000
ชื่อเรื่อง: | การดำเนินงานตามนโยบายโครงการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองกรณีศึกษาอำเภอพาน จังหวัดเชียงราย |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Implementation of the Urban community and village fund policy a case study of phan district] chiang Rai Province |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | ฐปนรรต พรหมอินทร์ ธวัช แก้วจินดา, 2510- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา ยุทธพร อิสรชัย สุจิตรา หังสพฤกษ์ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชารัฐศาสตร์ -- วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการเมืองการปกครอง -- วิทยานิพนธ์ โครงการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง -- การประเมิน โครงการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง -- ไทย -- เชียงราย -- การบริหาร |
วันที่เผยแพร่: | 2552 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) นโยบายโครงการกองทุนหมู่บ้านและ ชุมชนเมือง กรณีศึกษาอำเภอพาน จังหวัดเชียงราย (2) ผลการดำเนินงานตามนโยบายโครงการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง กรณีศึกษาอำเภอพาน จังหวัดเชียงราย (3) ผลกระทบจากการดำเนินงานตามนโยบายโครงการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองในด้านเศรษรกิจ สังคมและการเมืองกรณีศึกษาอำเภอพาน จังหวัดเชียงราย (4) ปัญหาอุปสรรคและแนวทางแก้ไชปัญหาในการดำเนินงานตามนโยบายโครงการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง กรณีศึกษาอำเภอพาน จังหวัดเชียงราย ในการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงประมาฌ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถาม และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ในการวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่าง โดยใช้วิธิการสุ่มอย่างง่าย จากกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองในเขตอำเภอพาน จำนวน 229 กองทุน ๆ ละ 2 ราย ได้แก่ ประธานหรือคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้าน รวมเป็นกลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 458 ราย ประกอบด้วย ประธานกองทุนหมู่บ้าน และคณะกรรมการกองทุน สมาชิกกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง ผลการศึกษาพบว่า (1) นโยบายโครงการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง โดยภาพรวมกลุ่มตัวอย่างเห็นด้วยในระดับมากที่สุด (2) ผลการดำเนินงานตามนโยบายโครงการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองโดยภาพรวม การบรรลุเป้าหมาย/วัตถุประสงค์ของโครงการประสบผลสำเร็จอยู่ในระดับมากที่สุด (3) ผลกระทบการดำเนินงานตามนโยบายโครงการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง โดยภาพรวมมีผลกระทบในระดับมากที่สุดไม่ว่าจะเป็นผลกระทบด้านเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง (4) ปัญหาอุปสรรคและแนวทางแก้ไขในการดำเนินงานตามนโยนายกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองส่วนใหญ่ประสบปัญหาคณะกรรมการกองทุนขาดความรู้ความเข้าใจในการจัดทำบัญชีเอกสาร และรายงานประจำปี โดยแนวทางการแก้ไขปัญหา ได้แก่ ให้ภาครัฐควรจัดหาบุคลากรที่ปฏิบัติหน้าที่ให้คำแนะนำช่วยเหลือคณะกรรมการกองทุน ในการจัดทำบัญชีเอกสาร และรายงานต่าง ๆ |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (ร.ม. (การเมืองการปกครอง))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2552 |
URI: | http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1000 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Pol-Theses |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
Thesbib118315.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 3.36 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License