Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10011
Title: การมีส่วนร่วมของประชาชนกับการจัดการขยะมูลฝอยและขยะติดเชื้อในชุมชน ภายใต้สถานการณ์โรคระบาดโควิด-19 กรณีศึกษาเขตพื้นที่ขององค์การบริหารส่วนตำบลเวียง อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่
Other Titles: Community participation in solid waste and infectious waste management under the Covid-19 pandemic case study: area of Wiang Subdistrict Administrative Organization, Fang District, Chiang Mai Province
Authors: กิตติพงษ์ เกียรติวัชรชัย, อาจารย์ที่ปรึกษา
ภาสกร ใจการ, 2525-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ
Keywords: ขยะ--การจัดการ--การมีส่วนร่วมของประชาชน--ไทย--เชียงใหม่
ขยะติดเชื้อ--การจัดการ.
การศึกษาอิสระ--บริหารรัฐกิจ
Issue Date: 2564
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาระดับการมีส่วนร่วม ในการจัดการขยะมูลฝอยและขยะติดเชื้อของชุมชน ในเขตพื้นที่ขององค์การบริหารส่วนตำบลเวียง อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ (2) เปรียบเทียบระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการปัญหาขยะมูลฝอยและขยะติดเชื้อของชุมชน ในเขตพื้นที่ขององค์การบริหารส่วนตำบลเวียง อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ที่แตกต่างกัน จำแนกตามปัจขัย ส่วนบุคคลที่แตกต่างกัน (3) เปรียบเทียบระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการปัญหาขยะมูลฝอยและขยะติด เชื้อ ในเขตพื้นที่ขององค์การบริหารส่วนตำบลเวียง อำเภอฝาง ขังหวัดเชียงใหม่ที่แตกต่างกัน จำแนกตามวัฒนธรรมที่ แตกต่างกัน (4) เปรียบเทียบระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการปัญหาขยะมูลฝอยและขยะติดเชื้อ ในเขตพื้นที่ขององค์การบริหารส่วนตำบลเวียง อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ที่แตกต่างกัน จำแนกตามภาวะผู้นำที่แตกต่างกัน (5) ศึกษาแนวทางการพัฒนาการมีส่วนร่วมของประชาชน ในการจัดการปัญหาขยะมูลฝอยและขยะติดเชื้อ ในเขตพื้นที่ขององค์การบริหารส่วนตำบลเวียง อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ ผลการศึกษาพบว่า (1) ประชาชนในตำบลเวียง มีความรูความเข้าใจ ด้านการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการขยะมูลฝอยและขยะติดเชื้อ อยู่ในระดับมาก (2) ผลการเปรียบเทียบการมีส่วนร่วมในการจัดการปัญหาขยะมูล ฝอยและขยะติดเชื้อ จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคลที่แตกต่างกัน พบว่า การศึกษา และรายได้ ที่แตกต่างกันมีความรู้ความเข้าใจที่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติน้อยกว่า 0.05 (3) ผลเปรียบเทียบระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการ จัดการปัญหาขยะมูลฝอยและขยะติดเชื้อ ที่แตกต่างกัน จำแนกตามวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน มีความรู้ความเข้าใจที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติน้อยกว่า 0.05 (4) ผลการเปรียบเทียบระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการปัญหาขยะมูลฝอยและขยะติดเชื้อที่แตกต่างกัน จำแนกตามภาวะผู้นำที่แตกต่างกันมีความรู้ความเข้าใจที่แตกต่างกันอย่างมี นัยสำคัญทางสถิติน้อยกว่า 0.05 (5) ผลการศึกษาแนวทางการพัฒนาระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการ ปัญหาขยะมูลฝอยและขยะติดเชื้อ ที่แตกต่างกัน จำแนกตาม วัฒนธรรมชุมชน และภาวะผู้นำ ที่แตกต่างกันมีความรู้ความ เข้าใจที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติน้อยกว่า 0.05
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10011
Appears in Collections:Manage-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Fulltext.pdfเอกสารฉบับเต็ม18.7 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons