กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10013
ชื่อเรื่อง: ยุทธศาสตร์การบริหารการป้องกันและรักษาโรคไข้เลือดออก ศึกษากรณีสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสระบุรี
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Strategies for administration of prevention and curation of hemorrhagic fever disease : a case study of Saraburi Provincial Public Health Office
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: จีระ ประทีป, อาจารย์ที่ปรึกษา
เสน่ห์ จุ้ยโต, อาจารย์ที่ปรึกษา
ชฎากาญจน์ ชาลีรัตน์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ --วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารรัฐกิจ --วิทยานิพนธ์
ไข้เลือดออก--การป้องกันและควบคุม
ไข้เลือดออก--การรักษา
วันที่เผยแพร่: 2550
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี่มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาสภาพแวดล้อมของการบริหารการป้องกัน และรักษาโรคไข้เลือดออกสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสระบุรี (2) เพื่อเสนอยุทธศาสตร์การบริหาร การป้องกันและรักษาโรคไข้เลือดออกของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสระบุรี รูปแบบการวิจัยครั้งนี่ เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ ประชากรที่ทำการศึกษาได้แก่ บุคลากร ที่รับผิดชอบงานด้านโรคติดต่อในจังหวัดสระบุรี จำนวน 179 คน จำแนกเป็นบุคลากรจาก สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสระบุรี จำนวน 2 คน สถานีอนามัยทุกแห่งในจังหวัดสระบุรี 126 แห่ง จำนวน 126 คนสำนักงานสาธารณสุขอำเภอ 13 อำเภอจำนวน 13 คน โรงพยาบาล 12 แห่ง จำนวน 12 คน สำนักงานเทศบาลในจังหวัดสระบุรี 26 แห่ง จำนวน 26 คน ศึกษาวิจัยจากประชากร ทั้งหมด เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามปลายเปิด และแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ความถี่ ร้อยละ ผลการวิจัยพบว่า (1) สภาพแวดล้อมการบริหารการป้องกันและรักษาโรคไข้เลือดออก ของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสระบุรี มีจุดแข็งคือ มีคณะทำงานที่เข้มแข็ง สำหรับจุดอ่อนยังไม่มีการจัดทำยุทธศาสตร์การป้องกันและรักษาโรคไข้เลือดออก ด้านโอกาส มีเครือข่ายภาค ประชาชนที่เข้มแข็ง แต่มีข้อจำกัดที่ประชาชนไม่เห็นความสำคัญในการป้องกันโรค (2) ข้อเสนอ ยุทธศาสตร์การบริหารการป้องกันและรักษาโรคไข้เลือดออก ประกอบด้วยยุทธศาสตร์ 6 ยุทธศาสตร์ ดังนี้ ยุทธศาสตร์ที่ 1 การบริหารจัดการแบบบุรณาการ ยุทธศาสตร์ที่ 2 การพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารเทคโนโลยีสารสนเทศ ยุทธศาสตร์ที่ 3 ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนทุกภาคส่วน ยุทธศาสตร์ที่ 4 ส่งเสริมการจัดสิ่งแวดล้อมให้เอื้อต่อการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก ยุทธศาสตร์ที่ 5 พัฒนาการวินิจฉัยและส่งต่อ ยุทธศาสตร์ที่ 6 เสริมสร้างระบบเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคในชุมชน วัค และโรงเรียน
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (บธ.ม. (บริหารรัฐกิจ))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2550
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10013
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Manage-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
108609.pdfเอกสารฉบับเต็ม5.24 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons