Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10018
Title: แนวทางการพัฒนาสมรรถนะตามมาตรฐานการปฏิบัติงานของครู เพื่อการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ในสถานศึกษาสหวิทยาเขต สุราษฎร์ธานีเขต 2 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุราษฎร์ธานี ชุมพร
Other Titles: Guidelines for development of teachers’ competencies based on work performance standards for the 21st century learning management in Surat Thani Cluster 2 Consortium Schools under the Secondary Educational Service Area Office Surat Thani Chumphon
Authors: รัตนา ดวงแก้ว, อาจารย์ที่ปรึกษา
จรัสพงศ์ ศรีสุขใส, 2537-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารการศึกษา --การศึกษาเฉพาะกรณี
ครู--การพัฒนาตนเอง
ครู--การพัฒนาบุคลากร
สมรรถภาพในการทำงาน
Issue Date: 2564
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของสมรรถนะตามมาตรฐานการปฏิบัติงานของครูเพื่อการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ในสถานศึกษาสหวิทยาเขตสุราษฎร์ธานีเขต 2 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุราษฎร์ธานี ชุมพร 2) ศึกษาลำดับความต้องการจำเป็นในการพัฒนาสมรรถนะตามมาตรฐานการปฏิบัติงานของครูเพื่อการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 และ 3) ศึกษาแนวทางการพัฒนาสมรรถนะตามมาตรฐานการปฏิบัติงานของครูเพื่อการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21ผลการวิจัยปรากฏว่า 1) สภาพปัจจุบันของสมรรถนะตามมาตรฐานการปฏิบัติงานของครูเพื่อการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง ส่วนสภาพที่พึงประสงค์ภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2) ความต้องการจำเป็นในการพัฒนาสมรรถนะตามมาตรฐานการปฏิบัติงานของครูเพื่อการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 เรียงตามลำดับจากมากไปน้อย ได้แก่ ด้านการจัดการเรียนรู้ ด้านความสัมพันธ์กับผู้ปกครองและชุมชน และด้านการปฏิบัติหน้าที่ครู และ 3) แนวทางการพัฒนาสมรรถนะตามมาตรฐานการปฏิบัติงานของครูเพื่อการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21ได้แก่ (1) สถานศึกษาควรลดภาระงานอื่นของครูที่ไม่เกี่ยวข้องกับการจัดการเรียนรู้และพัฒนาครูให้มีสมรรถนะด้านการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 (2) สถานศึกษาควรกระตุ้นให้ครูเห็นความสำคัญของการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองและชุมชนและเปิดโอกาสให้ผู้ปกครองและชุมชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาและแก้ปัญหาการเรียนและความประพฤติของนักเรียน และ (3) สถานศึกษาควรส่งเสริมให้ครูเข้ารับการอบรมพัฒนาตนเองที่เป็นประโยชน์ต่อการจัดการเรียนรู้ และติดตามการประยุกต์ใช้ความรู้และทักษะในการจัดการเรียนรู้
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10018
Appears in Collections:Edu-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
168816.pdfเอกสารฉบับเต็ม22.53 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons