Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10019
Title: โมเดลการส่งเสริมการผลิตมะขามเปรี้ยวเชิงธุรกิจ
Other Titles: The extension model of sour tamarind production for business
Authors: เฉลิมศักดิ์ ตุ้มหิรัญ, อาจารย์ที่ปรึกษา
จินดา ขลิบทอง, อาจารย์ที่ปรึกษา
ภูมิศักดิ์ ราศรี, อาจารย์ที่ปรึกษา
นพดล ศรีพันธุ์, 2515-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์--วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร--วิทยานิพนธ์
มะขามเปรี้ยว--การผลิต
Issue Date: 2564
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) การผลิตมะขามเปรี้ยวเชิงธุรกิจของเกษตรกร 2) ต้นทุนและผลตอบแทนทางการเงินในการลงทุนปลูกมะขามเปรี้ยว 3) การได้รับและความต้องการในการส่งเสริมการผลิตมะขามเปรี้ยวของเกษตรกร 4) การพัฒนาโมเดลการส่งเสริมการผลิตมะขามเปรี้ยวเชิงธุรกิจ และ 5) ประเมินโมเดลการส่งเสริมการผลิตมะขามเปรี้ยวเชิงธุรกิจ การวิจัยแบบผสมผสาน กลุ่มตัวอย่างในการศึกษามี 3 กลุ่ม ได้แก่ 1) เกษตรกรผู้ผลิตมะขามเปรี้ยว จํานวน 193 คน 2) ตัวแทนที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมการผลิตมะขามเปรี้ยวเชิงธุรกิจ จำนวน 11 คน 3) ผู้เชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมการผลิตมะขามเปรี้ยวเชิงธุรกิจ จํานวน 9 คน เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ การวิเคราะห์ปัจจัย และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) การผลิตของเกษตรกรส่วนใหญ่ มีพื้นที่ปลูกเฉลี่ย 7.06 ไร่ อายุเฉลี่ย 10.09 ปี พันธุ์ที่ใช้เป็นพันธุ์กระดาน ใช้กิ่งตอน ระยะปลูก 8x8 เมตร 2) เกษตรกรมีต้นทุนผันแปรด้านการเก็บเกี่ยวผลผลิตมีต้นทุนค่อนข้างสูง เนื่องจากยังไม่มีเทคโนโลยีที่เหมาะสมแทนการใช้แรงงานคน โดยต้นทุนการผลิตรวมเฉลี่ย เท่ากับ 11,023.83 บาทต่อไร่ รายได้จากการจําหน่าย ฝักดิบ ฝักสุก แปรรูปมะขามแช่อิ่ม แปรรูปมะขามเปียกเฉลี่ย 24,364.03 บาทต่อไร่ วิเคราะห์ความเป็นไปได้ในการลงทุนปลูกมะขามเปรี้ยว พบว่ามูลค่าปัจจุบันสุทธิ มีค่าเท่ากับ 13,340.20 บาท อัตราผลตอบแทนต่อต้นทุน 2.21 อัตราผลตอบแทนภายในการลงทุน ร้อยละ 21.01 3) เกษตรกรต้องการการส่งเสริมในด้านความรู้เพิ่มเติมจากเดิมเป็นระดับมากที่สุดในทุกด้านของกระบวนการผลิตมะขามเปรี้ยว จากสื่อบุคคลที่เป็นราชการ สื่อสิ่งพิมพ์ที่เป็นคู่มือสื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่เป็นสื่อยูทูป และมีระดับความต้องการวิธีการส่งเสริมการผลิตมะขามเปรี้ยวด้วยวิธีการส่งเสริมแบบอบรมเชิงปฏิบัติการ 4) โมเดลการส่งเสริมการผลิตมะขามเปรี้ยวเชิงธุรกิจ ประกอบด้วย Sender Message Channel Methods Receiver (SMCMR Model) ตามแนวคิดการบริหารงานที่มุ่งผลสัมฤทธิ์ และ 5) ผลการประเมินโมเดลอยู่ในระดับมาก ในด้านความสอดคล้องกับบริบท ด้านความเป็นได้ในการนําไปปฏิบัติด้านความเหมาะสม และด้านการนําไปใช้ประโยชน์ได้จริง
Description: ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.(เกษตรศาสตร์และสหกรณ์))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2564
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10019
Appears in Collections:Agri-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
168830.pdfเอกสารฉบับเต็ม22.62 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons