Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10025
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorปราโมทย์ ประจนปัจจนึกth_TH
dc.contributor.authorนิษรา ลีสุขสาม, 2528-th_TH
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์th_TH
dc.date.accessioned2023-10-26T06:25:55Z-
dc.date.available2023-10-26T06:25:55Z-
dc.date.issued2564-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10025en_US
dc.description.abstractการศึกษาค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงแนวคิดในการจัดตั้งศาลรัฐธรรมนูญและมาตรการในการควบคุมตรวจสอบการใช้อำนาจของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญตลอดจนการกำหนดความรับผิดของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญของประเทศไทย (2) ศึกษามาตรการและการควบคุมตรวจสอบการใช้อำนาจของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญและการกำหนดความรับผิดของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญของประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี และสาธารณรัฐเกาหลีเปรียบเทียบกับประเทศไทย (3) วิเคราะห์ปัญหาเกี่ยวกับการควบคุมตรวจสอบการใช้อำนาจและการกําหนดความรับผิดของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญของประเทศไทย เพื่อเสนอแนะแนวทางในการควบคุมตรวจสอบการใช้อำนาจของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญและกำหนดความของตุลาการศาล การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้เป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพโดยศึกษาจากหนังสือ วิทยานิพนธ์ งานวิจัย รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย รัฐธรรมนูญต่างประเทศ ได้แก่ ประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี และสาธารณรัฐเกาหลี บทความ วารสาร ข่าวสาร รวมทั้งแหล่งข้อมูลวิชาการสื่ออิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ ผลการศึกษาพบว่า ศาลรัฐธรรมนูญ ซึ่งเป็นองค์กรตามรัฐธรรมนูญต้องมีความชอบธรรมในทางประชาธิปไตยที่ไม่ขาดสาย เพื่อเป็นจุดเชื่อมโยงกับประชาชนผู้เป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตย รวมทั้งในการใช้อำนาจของศาลรัฐธรรมนูญต้องมีการถ่วงดุลและการตรวจสอบการใช้อำนาจจากองค์กรอื่น ๆ อีกทั้งต้องมีความผูกพันต่อกฎหมาย หลักความเป็นอิสระ และหลักความพร้อมรับผิดของฝ่ายตุลาการ ควบคู่กัน (2) จากการศึกษาพบว่าสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี และสาธารณรัฐเกาหลี ต่างก็มีมาตรการตรวจสอบการใช้อำนาจของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญผ่านทางผู้แทนของประชาชนตามหลักความชอบธรรมทางประชาธิปไตย แต่ประเทศไทยนั้นรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พุทธศักราช 2560) ได้ยกเลิกมาตรการตรวจสอบการใช้อำนาจของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญโดยประชาชนไป เหลือเพียงให้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ซึ่งเป็นองค์กรอิสระควบคุมตรวจสอบ และสําหรับในเรื่องการกำหนดความรับผิดของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ พบว่าสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีได้มีการกำหนดไว้อย่างชัดเจน โดยเฉพาะความรับผิดทางอาญา แต่ประเทศไทยยังไม่มีการกำหนดความรับผิดของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญทั้งทางแพ่งและทางอาญาไว้เฉพาะ อีกทั้งในเรื่องการกำหนดให้มีองค์กรตรวจสอบความรับผิดทางวินัยของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญนั้นทั้งสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีและสาธารณรัฐเกาหลี ต่างกำหนดองค์กรตรวจสอบความรับผิดทางวินัยของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญเป็นไปตามหลักการถ่วงดุลและคานอำนาจกันระหว่างองค์กรต่าง ๆ ที่เป็นผู้ใช้อำนาจอธิปไตยรัฐธรรมนูญที่มีความเหมาะสมสําหรับประเทศไทย แต่ประเทศไทยนั้นองค์กรในการพิจารณาความรับผิดทางวินัยตามมาตรฐานทางจริยธรรมของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญมิได้มีฐานอำนาจมาจากประชาชนและไม่มีการถ่วงดุลและคานอำนาจจากองค์กรตามรัฐธรรมนูญอื่น ๆ (3) ประเทศไทยมีปัญหาในเรื่องการควบคุมตรวจสอบตุลาการศาลรัฐธรรมนูญที่ไม่มีกระบวนการที่ยึดโยงกับประชาชนหรือองค์กรที่เป็นผู้แทนของประชาชนตามแนวคิดทฤษฎีความชอบธรรมในทางประชาธิปไตย นอกจากนี้ยังมีปัญหาในเรื่องการกำหนดความรับผิดของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญที่ไม่มีความชัดเจนและไม่เหมาะสม (4) เสนอแนะจากการศึกษาเห็นว่าประเทศไทยควรนำกระบวนการถอดถอนตุลาการศาลรัฐธรรมนูญตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (2540) และ (2550) มาบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พุทธศักราช 2560) ควรตราและบัญญัติกฎหมายเกี่ยวกับความรับผิดทางแพ่งและทางอาญาของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญไว้เป็นการเฉพาะ และควรกำหนดให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมีส่วนร่วมในการจัดทำมาตรฐานทางจริยธรรมของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญและกำหนดให้มีบทบัญญัติในเรื่องของการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญในหมวด 2 ของมาตรฐานจริยธรรมเป็นการกระทำที่ฝ่าฝืนมาตรฐานทางจริยธรรมอย่างร้ายแรง และควรกำหนดองค์กรพิจารณาความรับผิดทางวินัยของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญไว้เป็นการเฉพาะในรูปแบบคณะกรรมการวินัยตุลาการศาลรัฐธรรมนูญแบบเดียวกับการควบคุมวินัยของศาลยุติรรรมและศาลปกครองth_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายมหาชน--การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectการพิจารณาทบทวนโดยศาลth_TH
dc.subjectการศึกษาอิสระ--กฎหมายมหาชนth_TH
dc.titleการควบคุมตรวจสอบฝ่ายตุลาการในระบบกฎหมายไทย ศึกษากรณีตุลาการศาลรัฐธรรมนูญth_TH
dc.title.alternativeAudit control judicial in the Thai legal system : case study judge constitutional courten_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameนิติศาสตรมหาบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชานิติศาสตร์th_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeThe objectives of this research were to (1) study concepts, theories and legal principles about the appeals system for administrative orders; (2) study and compare theories and legal principles about appeals in the administrative court systems in Thailand, Germany and France; (3) analyzeproblems and hindrances in the system for appealing administrative orders in Thailand; (4) recommend approaches for amending laws related to the system for appealing administrative orders to make them more appropriate. This was a qualitative research based on documentary research, involving the study of textbooks, journals, research reports, theses, judgements or court orders,government academic documents, and electronic media fromThailand and other countries. The results of the study showed that the concepts, theories and legal principles about the system for appealing or contesting administrative orders are mainly concerned with determining the legality of the administrative order and investigating to see if its issuance should be considered an abuse of power or not,with the ultimate aim of insuring justice and protecting the rights and liberties of the people, and making sure there is an effective and mutually beneficial balance of power. (2) The system of appealing or contesting an administrative order in Thailand is an enforceable system, the same as in Germany, while in France it is an alternative system. (3) The system of appealing or contesting an administrative order used in Thailand has some problems and legal hindrances involved with the short time limit in which one is allowed to submit an appeal. In the case of remediation after an administrative order and internal appeal, the people who sustained damage should be compensated first rather than waiting until after the administrative order has been officially revoked. Otherwise, it may cause an unnecessary burden, which would then require even more compensationfor damages later. This goes against the intent of administrative law, which aims to coordinate actions and measures for the greatest public good and protect the rights and liberties of the people. (4) The author suggests amending the law to seta more appropriate time limit for submitting an appeal against administrative orders at 30 days from the date of receiving notification that the order was issued. For remediation, if the administrative order had the effect of increasing the burden of the affected party, then when an appeal is launched, the administrative order should be temporarily suspended at once. Also, the system of enforceable appeals should be replaced with a system of alternative appeals to better protect the rights and liberties of the citizens and for greater speed in the appeals process.en_US
Appears in Collections:Law-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Fulltext.pdfเอกสารฉบับเต็ม19.55 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons