กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10025
ชื่อเรื่อง: การควบคุมตรวจสอบฝ่ายตุลาการในระบบกฎหมายไทย ศึกษากรณีตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Audit control judicial in the Thai legal system : case study judge constitutional court
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ปราโมทย์ ประจนปัจจนึก
นิษรา ลีสุขสาม, 2528-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายมหาชน--การศึกษาเฉพาะกรณี
การพิจารณาทบทวนโดยศาล
การศึกษาอิสระ--กฎหมายมหาชน
วันที่เผยแพร่: 2564
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงแนวคิดในการจัดตั้งศาลรัฐธรรมนูญและมาตรการในการควบคุมตรวจสอบการใช้อำนาจของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญตลอดจนการกำหนดความรับผิดของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญของประเทศไทย (2) ศึกษามาตรการและการควบคุมตรวจสอบการใช้อำนาจของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญและการกำหนดความรับผิดของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญของประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี และสาธารณรัฐเกาหลีเปรียบเทียบกับประเทศไทย (3) วิเคราะห์ปัญหาเกี่ยวกับการควบคุมตรวจสอบการใช้อำนาจและการกําหนดความรับผิดของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญของประเทศไทย เพื่อเสนอแนะแนวทางในการควบคุมตรวจสอบการใช้อำนาจของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญและกำหนดความของตุลาการศาล การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้เป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพโดยศึกษาจากหนังสือ วิทยานิพนธ์ งานวิจัย รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย รัฐธรรมนูญต่างประเทศ ได้แก่ ประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี และสาธารณรัฐเกาหลี บทความ วารสาร ข่าวสาร รวมทั้งแหล่งข้อมูลวิชาการสื่ออิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ ผลการศึกษาพบว่า ศาลรัฐธรรมนูญ ซึ่งเป็นองค์กรตามรัฐธรรมนูญต้องมีความชอบธรรมในทางประชาธิปไตยที่ไม่ขาดสาย เพื่อเป็นจุดเชื่อมโยงกับประชาชนผู้เป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตย รวมทั้งในการใช้อำนาจของศาลรัฐธรรมนูญต้องมีการถ่วงดุลและการตรวจสอบการใช้อำนาจจากองค์กรอื่น ๆ อีกทั้งต้องมีความผูกพันต่อกฎหมาย หลักความเป็นอิสระ และหลักความพร้อมรับผิดของฝ่ายตุลาการ ควบคู่กัน (2) จากการศึกษาพบว่าสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี และสาธารณรัฐเกาหลี ต่างก็มีมาตรการตรวจสอบการใช้อำนาจของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญผ่านทางผู้แทนของประชาชนตามหลักความชอบธรรมทางประชาธิปไตย แต่ประเทศไทยนั้นรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พุทธศักราช 2560) ได้ยกเลิกมาตรการตรวจสอบการใช้อำนาจของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญโดยประชาชนไป เหลือเพียงให้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ซึ่งเป็นองค์กรอิสระควบคุมตรวจสอบ และสําหรับในเรื่องการกำหนดความรับผิดของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ พบว่าสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีได้มีการกำหนดไว้อย่างชัดเจน โดยเฉพาะความรับผิดทางอาญา แต่ประเทศไทยยังไม่มีการกำหนดความรับผิดของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญทั้งทางแพ่งและทางอาญาไว้เฉพาะ อีกทั้งในเรื่องการกำหนดให้มีองค์กรตรวจสอบความรับผิดทางวินัยของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญนั้นทั้งสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีและสาธารณรัฐเกาหลี ต่างกำหนดองค์กรตรวจสอบความรับผิดทางวินัยของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญเป็นไปตามหลักการถ่วงดุลและคานอำนาจกันระหว่างองค์กรต่าง ๆ ที่เป็นผู้ใช้อำนาจอธิปไตยรัฐธรรมนูญที่มีความเหมาะสมสําหรับประเทศไทย แต่ประเทศไทยนั้นองค์กรในการพิจารณาความรับผิดทางวินัยตามมาตรฐานทางจริยธรรมของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญมิได้มีฐานอำนาจมาจากประชาชนและไม่มีการถ่วงดุลและคานอำนาจจากองค์กรตามรัฐธรรมนูญอื่น ๆ (3) ประเทศไทยมีปัญหาในเรื่องการควบคุมตรวจสอบตุลาการศาลรัฐธรรมนูญที่ไม่มีกระบวนการที่ยึดโยงกับประชาชนหรือองค์กรที่เป็นผู้แทนของประชาชนตามแนวคิดทฤษฎีความชอบธรรมในทางประชาธิปไตย นอกจากนี้ยังมีปัญหาในเรื่องการกำหนดความรับผิดของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญที่ไม่มีความชัดเจนและไม่เหมาะสม (4) เสนอแนะจากการศึกษาเห็นว่าประเทศไทยควรนำกระบวนการถอดถอนตุลาการศาลรัฐธรรมนูญตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (2540) และ (2550) มาบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พุทธศักราช 2560) ควรตราและบัญญัติกฎหมายเกี่ยวกับความรับผิดทางแพ่งและทางอาญาของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญไว้เป็นการเฉพาะ และควรกำหนดให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมีส่วนร่วมในการจัดทำมาตรฐานทางจริยธรรมของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญและกำหนดให้มีบทบัญญัติในเรื่องของการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญในหมวด 2 ของมาตรฐานจริยธรรมเป็นการกระทำที่ฝ่าฝืนมาตรฐานทางจริยธรรมอย่างร้ายแรง และควรกำหนดองค์กรพิจารณาความรับผิดทางวินัยของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญไว้เป็นการเฉพาะในรูปแบบคณะกรรมการวินัยตุลาการศาลรัฐธรรมนูญแบบเดียวกับการควบคุมวินัยของศาลยุติรรรมและศาลปกครอง
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10025
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Law-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdfเอกสารฉบับเต็ม19.55 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons