กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10040
ชื่อเรื่อง: ความต้องการจำเป็นและแนวทางการส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอ่างทอง
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Needs assessment and guidelines for enhancing participation in educational management of basic education school board members in Schools under Angthong Primary Educational Service Area Office
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ชูชาติ พ่วงสมจิตร์, อาจารย์ที่ปรึกษา
พิมพ์รัตน์ ปัทมโรจน์, 2527-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารการศึกษา--การศึกษาเฉพาะกรณี
การบริหารโรงเรียนประถมศึกษา--ไทย--อ่างทอง
การศึกษาอิสระ--บริหารการศึกษา
วันที่เผยแพร่: 2563
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน และสภาพที่พึงประสงค์ของการมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน (2) ศึกษาความต้องการจำเป็นในการจัดการศึกษาของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และ (3) นำเสนอแนวทางการส่งเสริมการมีคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอ่างทอง การวิจัยมี 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การศึกษาความต้องการจําเป็นในการจัดการศึกษาของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน กลุ่มตัวอย่าง คือ คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอ่างทอง จํานวน 279 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถามแบบมาตรประมาณค่า ชนิดตอบสนองคู่ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าดัชนีความต้องการจําเป็น ระยะที่ 2 การนำเสนอแนวทางการส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ ผู้อำนวยการสถานศึกษา ประธานคณะกรรมการสถานศึกษา ศึกษานิเทศก์ และครู จํานวน 8 ท่าน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบประเมินความเหมาะสมของแนวทางการส่งเสริมการมีส่วนร่วมวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาค่าร้อยละ และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยปรากฏว่า (1) สภาพปัจจุบันของการมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาของคณะกรรมการร่วมในการจัดการศึกษาของสถานศึกษา และสภาพที่พึงประสงค์ของการมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาของคณะกรรมการสถานศึกษา อยู่ในระดับมาก (2) ดัชนีความต้องการจําเป็นของการมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาของคณะกรรมการสถานศึกษาทั้งด้านวิชาการด้านงบประมาณ ด้านการบริหารงานบุคคล และด้านการบริหารทั่วไป เท่ากับ 0.10 ทั้ง 4 ด้าน และ (3) แนวทางการส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาของคณะกรรมการสถานศึกษาแต่ละด้าน คือ (3.1) ด้านวิชาการ โรงเรียนควรเปิดโอกาสและส่งเสริมให้คณะกรรมการสถานศึกษาเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาหลักสูตร การประกันคุณภาพการศึกษา และการให้ความเห็นชอบต่อแผนการบริหารงานวิชาการของโรงเรียน (3.2) ด้านงบประมาณ โรงเรียนควรเปิดโอกาสให้คณะกรรมการสถานศึกษามีส่วนร่วมในทุกขั้นตอนของการบริหารงบประมาณ ตั้งแต่การจัดทำแผนงบประมาณการขอตั้งงบประมาณ การระดมทรัพยากร และการตรวจสอบการใช้งบประมาณ (3.3) ด้านการบริหารงานบุคคลโรงเรียนควรรับฟังความเห็นและข้อเสนอแนะของคณะกรรมการสถานศึกษา เพื่อให้การบริหารงานบุคคล ถูกต้อง โปร่งใส ยุติธรรม และเกิดความเข้าใจอันดีระหว่างโรงเรียนและชุมชน และ (3.4) ด้านการบริหารงานทั่วไป โรงเรียนควรเปิดโอกาสให้คณะกรรมการสถานศึกษามีส่วนร่วมในการกําหนดปรัชญา วิสัยทัศน์ พันธกิจของโรงเรียน การให้ความเห็นชอบต่อแผนการรับนักเรียนและรับฟังความคิดเห็นอื่น ๆ ที่จะนำมาซึ่งความราบรื่น โปร่งใส และประสิทธิภาพในการบริหารงานทั่วไป
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10040
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Edu-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
168625.pdfเอกสารฉบับเต็ม20.91 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons