Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1004
Title: | ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จในการนำนโยบายแรงงานต่างด้าว พ.ศ. 2547 ไปปฏิบัติ : ศึกษากรณีเขตหนองจอก กรุงเทพมหานคร |
Other Titles: | Factors affecting the success in implementing the foreign labor policy in 2008 : a case study of Nong Chok District, Bangkok |
Authors: | ฐปนรรต พรหมอินทร์ นพดล ขันติชัยมงคล, 2520- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา สุจิตรา หังสพฤกษ์ |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชารัฐศาสตร์ -- วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการเมืองการปกครอง -- วิทยานิพนธ์ แรงงานต่างด้าว -- ไทย -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ. |
Issue Date: | 2554 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ปัจจัยส่วนบุคคลของผู้ประกอบการและนายจ้างใน เขตหนองจอก กรุงเทพมหานคร 2) ความคิดเห็นของผู้ประกอบการและนายจ้าง และปัจจัยด้านต่างๆ ใน การนำ นโยบายแรงงานต่างด้าว พ.ศ. 2547 ไปปฏิบัติ 3) ระดับความสำเร็จของผู้ประกอบการและนายจ้าง ในการนำ นโยบายแรงงานต่างด้าว พ.ศ. 2547 ไปปฏิบัติ และ 4) ศึกษาเปรียบเทียบระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลของผู้ประกอบการและนายจ้าง และปัจจัยด้านต่างๆ กับความสำเร็จในการนโยบายแรงงานต่างด้าว พ.ศ. 2547 ไปปฏิบัติในเขตหนองจอก กรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างผู้ประกอบการและนายจ้าง จำนวน 103 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวม ข้อมูลเป็นแบบสอบถาม สถิติในการวิเคราะห์ ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบสถิติ t-test และ One-way ANOVA ผลการวิจัย พบว่า 1) กลุ่มตัวอย่างที่มีมากที่สุดเป็นเพศชาย มีอายุตั้งแต่ 46 ปีขึ้นไป การศึกษา ปริญญาตรี ประกอบกิจการกลุ่มโรงงานอุตสาหกรรมและกิจการก่อสร้าง มีรายได้ 30,001-60,000 บาท มีจำ นวนแรงงาน 1-10 คน 2) ความคิดเห็นของผู้ประกอบการและนายจ้างเกี่ยวกับปัจจัยการนำนโยบาย แรงงานต่างด้าวไปปฏิบัติในภาพรวม อยู่ในระดับปานกลาง พิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ย สูงสุด คือ ความคล่องตัวในการปฏิบัติงาน 3) ความสำเร็จในการนำนโยบายแรงงานต่างด้าวไปปฏิบัติ โดยภาพรวมมีความสำเร็จอยู่ในระดับปานกลาง ประเด็นที่สำคัญที่สุด คือ การให้ความรู้ความเข้าใจใน ทัศนคติที่ดีแก่นายจ้าง/ผู้ประกอบการ และบุคลากรผู้ปฏิบัติงานทำให้การจัดระบบแรงงานต่างด้าวประสบความสำเร็จ 4) เพศ ประเภทของกิจการ และจำนวนแรงงานในครอบครอง มีความแตกต่างกับความสำเร็จ ในการนำนโยบายแรงงานต่างด้าวไปปฏิบัติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส าหรับข้อเสนอแนะเห็นควรให้มีการประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับนโยบายแรงงานต่างด้าว อย่างต่อเนื่อง และมีการกำหนดมาตรการต่างๆ เพื่อแก้ไขปัญหาให้ชัดเจนและเป็นรูปธรรมมากขึ้น |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ร.ม. (การเมืองการปกครอง))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2554 |
URI: | http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1004 |
Appears in Collections: | Pol-Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Thesbib128977.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 11.41 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License