กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10050
ชื่อเรื่อง: ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์และส่งผลกระทบต่อการค้างชำระหนี้ของสมาชิกสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนอามานะห์สุขสำราญ จำกัด จังหวัดระนอง
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Factors related to and affecting the outstanding debts of members of Amanah Suksamran Credit Union Cooperative Limited, Ranong
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: วรชัย สิงหฤกษ์
ผานิตย์ แสวงหาสินทรัพย์, 2534-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสหกรณ์--การศึกษาเฉพาะกรณี
สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนอามานะห์สุขสำราญ จำกัด--สมาชิก
การผิดนัดชำระหนี้
การศึกษาอิสระ--สหกรณ์
วันที่เผยแพร่: 2564
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยเสี่ยงกับการค้างชำระหนี้ของสมาชิกสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนอามานะห์สุขสำราญ จำกัด 2) ศึกษาระดับความสำคัญของสาเหตุที่ทำให้เกิดการค้างชำระหนี้ของสมาชิกสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนอามานะห์สุขสำราญ จำกัด และ 3) ศึกษาปัญหาและข้อเสนอแนะในการแก้ไขปัญหาการค้างชำระหนี้ของสมาชิกสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนอามานะห์สุขสำราญ จำกัด ผลการวิจัยพบว่า 1) ปัจจัยด้านเศรษฐกิจและสังคมของสมาชิกมีความสัมพันธ์กับการค้างชำระหนี้ของสมาชิก ได้แก่ ปัจจัยด้านรายได้เฉลี่ยต่อเดือน มีความสัมพันธ์กับการค้างชำระหนี้ของสมาชิกที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 และรายจ่ายเฉลี่ยต่อเดือน ภาระผ่อนชำระหนี้สินรวมทุกสถาบันต่อเดือน ภาระผ่อนชำระหนี้สินกับสหกรณ์ต่อเดือน ภาระผ่อนชำระหนี้สินรวมต่อเดือน ภาระหนี้สินกับสถาบันการเงินอื่นที่มิใช่สหกรณ์ และ การนำเงินไปใช้ตรงตามวัตถุประสงค์ในการกู้ยืมเงิน มีความสัมพันธ์กับการค้างชำระหนี้ของสมาชิกที่ระดับนัยสำคัญ 0.01 ปัจจัยด้านการบริหารจัดการสหกรณ์ของสหกรณ์มีความสัมพันธ์ต่อการค้างชำระหนี้ของสมาชิก ได้แก่ ความสะดวกสบายในการชำระหนี้ มีความสัมพันธ์กับการค้างชำระหนี้ของสมาชิกที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 และเจ้าหน้าที่รับชำระหนี้ปฏิบัติงานล่าช้า เจ้าหน้าที่ไม่อธิบายเงื่อนไขในสัญญาเงินยืมให้ชัดเจน และ เจ้าหน้าที่ขาดความสนใจในการติดตามทวงถามเมื่อถึงกำหนดชำระ มีความสัมพันธ์กับการค้างชำระหนี้ของสมาชิกที่ระดับนัยสำคัญ 0.01 และปัจจัยด้านพฤติกรรมการชำระหนี้ของสมาชิกสหกรณ์มีความสัมพันธ์ต่อการค้างชำระหนี้ของสมาชิก ได้แก่ สมาชิกนำเงินที่จะชำระหนี้สหกรณ์ไปจ่ายชำระหนี้อื่นก่อน สมาชิกนำเงินกู้จากสหกรณ์ไปใช้ผิดวัตถุประสงค์ สมาชิกมีรายจ่ายมากกว่ารายได้ สมาชิกมีปัญหาครอบครัว และสมาชิกลาออกจากงาน/ตกงาน/ว่างงานมีความสัมพันธ์กับการค้างชำระหนี้ของสมาชิกที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 2) สมาชิกให้ความสำคัญด้านนโยบายรัฐบาลอยู่ในระดับมาก โดยเรื่องรายจ่ายค่าสาธารณูปโภคขึ้นราคาสูง (เช่น น้ำ ค่าไฟฟ้า น้ำมันเชื้อเพลิง) อยู่ในระดับมากที่สุดด้านสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด 2019 อยู่ในระดับมาก ราคาวัตถุดิบสูงขึ้น, มีรายจ่ายเพิ่มมากขึ้นมีภาระหนี้สินเพิ่มขึ้น และการติดต่อสื่อสาร ประชาสัมพันธ์ข่าวสาร อยู่ในระดับมาก ด้านการบริหารจัดการสหกรณ์ อยู่ในระดับมาก โดยเรื่องเงื่อนไขระยะเวลาการชำระคืนสั้นเกินไป, ไม่มีบุคลากรในการแนะนำข้อมูลการชำระหนี้, ความสะดวกสบายในการชำระหนี้ อยู่ในระดับมาก และ ด้านพฤติกรรมการชำระหนี้ อยู่ในระดับปานกลาง และ การปัญหาด้านสุขภาพ หรือทุพพลภาพจนเป็นสาเหตุให้ไม่สามารถประกอบอาชีพได้ อยู่ในระดับมาก 3) ปัญหาและข้อเสนอแนะในการแก้ไขปัญหาการค้างชำระหนี้ของสมาชิก โดยปัญหาที่พบ คือ คณะกรรมการของสหกรณ์ยังขาดความรู้ ความสามารถในด้านสินเชื่อการให้บริการยังไม่พร้อม และไม่มีเจ้าหน้าที่คอยให้บริการอย่างเพียงพอ สำหรับข้อเสนอแนะนั้นควรมีเจ้าหน้าที่ฝ่ายสินเชื่อให้บริการอย่างพอเพียงและควรมีการอบรมให้ความรู้แก่คณะกรรมการเงินกู้
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10050
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Agri-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
168788.pdfเอกสารฉบับเต็ม28.86 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons