กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10051
ชื่อเรื่อง: การบริหารเงินทุนของสหกรณ์ออมทรัพย์ในจังหวัดจันทบุรี
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Capital management of savings and credit cooperatives in Chanthaburi Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: วิลาวัลย์ ศิลปศร, อาจารย์ที่ปรึกษา
หทัยชนก พุทธาโร, 2538-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสหกรณ์ --การศึกษาเฉพาะกรณี
เงินทุน
การศึกษาอิสระ--สหกรณ์
วันที่เผยแพร่: 2564
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาฐานะทางการเงิน และผลการดำเนินงานของสหกรณ์ 2) ศึกษาการเปลี่ยนแปลงของฐานะทางการเงิน และผลการดำเนินงานของสหกรณ์ 3) เปรียบเทียบต้นทุนของเงินทุนกับผลตอบแทนที่ได้รับจากการลงทุน และ 4) เสนอแนะแนวทางการบริหารเงินทุนของสหกรณ์ผลการศึกษา พบว่า 1) ฐานะทางการเงิน และผลการดำเนินงานของสหกรณ์ (1) ด้านสินทรัพย์ของสหกรณ์พบว่า สินทรัพย์ส่วนใหญ่เป็นสินทรัพย์ไม่หมุนเวียน ซึ่งมีสัดส่วนมากกว่าสินทรัพย์หมุนเวียน เปรียบเทียบตั้งแต่ปี 2560มีสัดส่วนร้อยละ 86.74 : 13.26 ปี 2561 สัดส่วนร้อยละ 89.24 : 10.76 ปี 2562 สัดส่วนร้อยละ 89.00 : 11.00 ปี 2563 สัดส่วนร้อยละ 89.57 : 10.43 และปี 2564 มีสัดส่วนร้อยละ 87.38 : 12.62 (2) ด้านหนี้สินของสหกรณ์ พบว่า หนี้สินหมุนเวียนรวมมีสัดส่วนร้อยละที่ลดลง ซึ่งรายการหนี้สินหมุนเวียนที่สำคัญ คือ เงินรับฝาก และเงินกู้ยืมระยะสั้น โดยหนี้สินหมุนเวียนที่ลดลงคือ เงินกู้ยืมระยะสั้น โดยในปี 2560 เงินกู้ยืมระยะสั้นมีสัดส่วนร้อยละ 56.61 และมีการเปลี่ยนแปลงลดลงทุกปีตั้งแต่ปี 2561-2564 สัดส่วนร้อยละ 52.58, 37.56, 34.35 และ 25.02 ตามลำดับ (3) ด้านทุนของสหกรณ์ พบว่า ทุนของสหกรณ์ที่เพิ่มขึ้น คือทุนเรือนหุ้น ซึ่งมีปริมาณเพิ่มขึ้นทุกปี ตั้งแต่ปี 2560-2564 จำนวน 5,465.25 ล้านบาท 5,915.79 ล้านบาท 6,392.19 ล้านบาท 6,807.39 ล้านบาท และ 7,211.64 ล้านบาท ตามลำดับ (4) ด้านผลการดำเนินงานของสหกรณ์ พบว่า สหกรณ์มีรายได้จากเงินลงทุน ส่วนใหญ่มาจากดอกเบี้ยรับเงินให้กู้ ในปี 2560 มีสัดส่วนร้อยละ 84.43 ปี 2561 มีสัดส่วนร้อยละเพิ่มขึ้นเป็น 84.67 ปี 2562 มีสัดส่วนร้อยละเพิ่มขึ้นเป็น 85.43 ปี 2563 มีสัดส่วนร้อยละลดลงเป็น 85.08 และปี 2564 มีสัดส่วนร้อยละลดลงเป็น 84.16 ซึ่งสัดส่วนที่ลดลงเนื่องจากไปเพิ่มในส่วนของผลตอบแทนจากการลงทุน 2) การเปลี่ยนแปลงฐานะทางการเงิน และ ผลการดำเนินงานของสหกรณ์ พบว่า ฐานะทางการเงินของสหกรณ์ด้านสินทรัพย์ หนี้สิน และทุนของสหกรณ์ มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปี ในส่วนของสินทรัพย์ ไม่ว่าจะเป็นเงินฝาก เงินให้กู้ระยะสั้นและระยะยาว รวมทั้งเงินลงทุน ซึ่งสินทรัพย์รวมปี 2561 เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.56 ปี 2562 เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.52 ปี 2563 เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.12 และปี 2564 เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.99 และผลการดำเนินงานของสหกรณ์ สหกรณ์มีรายได้จากดอกเบี้ยและผลตอบแทนจากการลงทุน ในปี 2561 มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.49 ปี 2562 มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.50 ปี 2563 มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น 6.28 และปี 2564 มีแนวโน้มเพิมขึ้นร้อยละ 3.963) เปรียบเทียบต้นทุนของเงินทุนกับผลตอบแทนที่ได้รับจากการลงทุน เมื่อนำผลรวมต้นทุนของเงินทุนมาเปรียบเทียบกับผลตอบแทนที่ได้รับ พบว่า สหกรณ์มีกำไรจากการบริหารเงินทุน ในปี 2560 คิดเป็นร้อยละ 2.30 ปี 2561 คิดเป็นร้อยละ 2.76 ปี2562 คิดเป็นร้อยละ 2.63 ปี 2563 คิดเป็นร้อยละ 2.61 และปี 2564 คิดเป็นร้อยละ 2.75 ของสินทรัพย์ทั้งหมด 4) เสนอแนะแนวทางในการบริหารเงินทุน ผู้บริหารสหกรณ์ควรหาแนวทาง ในการลงทุน เพื่อผลการดำเนินงานและการเติบโตของสหกรณ์ในอนาคต (1) ควรมีการจัดตั้งคณะกรรมการเกี่ยวกับการลงทุน (2) ควรมีการกำหนดแผนงาน หรือแผนการปฏิบัติงานให้เจ้าหน้าที่บัญชี หรือเจ้าหน้าที่การเงิน เพื่อติดตามการเปลี่ยนแปลงทีเกิดขึ้นจากการลงทุน (3) สหกรณ์จะต้องมีการควบคุมผลการดำเนินงาน และผลการปฏิบัติงาน โดยมอบหมายเจ้าหน้าที่ของสหกรณ์ดำเนินการจัดทำงบกระแสเงินสดเป็นรายสัปดาห์หรือรายเดือน เพื่อควบคุมการเข้ามาและใช้ไปของเงินที่หมุนเวียนในสหกรณ์ และรายงานให้ผู้บริหารสหกรณ์ทราบเป็นประจำ
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10051
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Agri-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
168787.pdfเอกสารฉบับเต็ม11.63 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons