Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10055
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorเอกพล กาละดี, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.authorช่อผกา กิติชัยวรรณ, 2526--
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพth_TH
dc.date.accessioned2023-10-27T03:50:26Z-
dc.date.available2023-10-27T03:50:26Z-
dc.date.issued2564-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10055-
dc.description.abstractเหตุการณ์ความรุนแรงในโรงพยาบาลที่เกิดขึ้นกับบุคลากรทั้งความรุนแรงต่อร่างกายและความรุนแรงต่อจิตใจเป็นปัญหาที่พบมากขึ้นในประเทศไทย ผู้ก่อเหตุความรุนแรงในโรงพยาบาลส่วนใหญ่คือ ผู้ป่วย หรือผู้เกี่ยวข้องกับผู้ป่วย การป้องกันและการจัดการเหตุการณ์ความรุนแรงในโรงพยาบาลอย่างเหมาะสมจะช่วยลดผลกระทบเชิงลบที่อาจเกิดกับบุคลากรและองค์กร การศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อจัดทำแนวปฏิบัติการจัดการเหตุการณ์ความรุนแรงในโรงพยาบาล สำหรับโรงพยาบาลยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์ เพื่อช่วยส่งเสริมความปลอดภัยของบุคลากรและผู้เกี่ยวข้องขั้นตอนการจัดทำแนวปฏิบัติ ได้แก่ (1) การทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง (2) จัดทำร่างแนวปฏิบัติการจัดการเหตุการณ์ความรุนแรงในโรงพยาบาล สำหรับโรงพยาบาลยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์ (3) ตรวจสอบคุณภาพร่างแนวปฏิบัติโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน ได้ค่าดัชนีความสอดคล้องเท่ากับ 0.96 และปรับแก้ไขตามคำแนะนำ (4) นำแนวปฏิบัติไปทดลองใช้กับบุคลากร โรงพยาบาลยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์ จำนวน 30 คน เป็นระยะเวลา 2 สัปดาห์ และ (5) ประเมินผลความพึงพอใจการใช้งานแนวปฏิบัติ ผลการดำเนินงาน ได้แนวปฏิบัติการจัดการเหตุการณ์ความรุนแรงในโรงพยาบาล สำหรับโรงพยาบาลยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์ มีเนื้อหาประกอบด้วย (1) บทนำ (2) ความหมายประเภท และผลกระทบของเหตุการณ์ความรุนแรงในโรงพยาบาล (3) ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเกิดเหตุการณ์ความรุนแรงในโรงพยาบาล (4) กลยุทธ์และแนวทางการจัดการเหตุการณ์ความรุนแรงในโรงพยาบาล (5) บทบาทหน้าที่ของบุคลากรในการจัดการเหตุการณ์ความรุนแรงในโรงพยาบาลและ (6) แนวปฏิบัติการจัดการเหตุการณ์ความรุนแรงในโรงพยาบาล สำหรับโรงพยาบาลยางตลาดจังหวัดกาฬสินธุ์ ผลการทดลองใช้พบว่าบุคลากรมีความพึงพอใจต่อการใช้แนวปฏิบัติโดยรวมในระดับมากที่สุดth_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)th_TH
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectโรงพยาบาลยางตลาดth_TH
dc.subjectความรุนแรงในโรงพยาบาล--การจัดการth_TH
dc.subjectการศึกษาอิสระ--วิทยาศาสตร์สุขภาพth_TH
dc.titleแนวปฏิบัติการจัดการเหตุการณ์ความรุนแรงในโรงพยาบาล สำหรับโรงพยาบาลยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์th_TH
dc.title.alternativeGuidelines on violence incident management in hospital for Yangtalad Hospital, Kalasin Provinceen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพth_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeViolence against healthcare personnel including physical and psychological aggression is a growing problem in Thailand. Most violence incidents are perpetrated by patients and their relatives. Appropriate violence prevention and management measures can reduce negative impact on personnel and the organization. The aim of this study was to create guidelines on violence incident management for Yangtalad Hospital, Kalasin province, to ensure the safety of hospital personnel and other relevant persons. Procedures for creating the guidelines included: (1) reviewing relevant documents and research reports; (2) drafting guidelines on violence incident management for Yangtalad Hospital, Kalasin province; (3) getting the content validity of the draft guidelines checked by three experts, resulting in an overall item-objective congruence index of 0.96 and revising the guidelines according to experts’ recommendations; (4) pre-testing the guidelines for two weeks among 30 personnel working in Yangtalad Hospital; and (5) assessing their satisfaction with the guidelines. As a result of the study, the guidelines on violence incident management in hospitals for Yangtalad Hospital, Kalasin province, was finalized, consisting of; (1) Introduction, (2) Definition, Types and Impact of violence incidents in hospitals, (3) Risk factors of violence incidents in hospitals, (4) Strategies and method to manage violence incidents in hospitals, (5) Roles and duties of personnel in violence incident management, and (6) Guidelines on violence incident management in hospitals for Yangtalad Hospital, Kalasin province. As per the guidelines trial results, the personnel’s overall satisfaction was at the highest level.en_US
Appears in Collections:Health-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
168790.pdfเอกสารฉบับเต็ม9.05 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons