Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1007
Title: นโยบายการบริหารราชการจังหวัดชายแดนภาคใต้ : ศึกษาเฉพาะกรณีการยุบศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้
Other Titles: Administration policy for the southern border provinces : a case study of the dissolution of southern border province administrative center
Authors: รุ่งพงษ์ ชัยนาม, อาจารย์ที่ปรึกษา
ปธาน สุวรรณมงคล, อาจารย์ที่ปรึกษา
ประพนธ์ เจียรกูล, อาจารย์ที่ปรึกษา
นวัต บุญธรักษา, 2510-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชารัฐศาสตร์ -- วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการเมืองการปกครอง -- วิทยานิพนธ์
ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ -- การบริหาร
ไทย (ภาคใต้) -- ปัญหาและข้อพิพาท
ไทย (ภาคใต้) -- การเมืองและการปกครอง
Issue Date: 2548
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การศึกษาวิจัยมีวัตถุประสงค์ 4 ประการคือ (1) ศึกษาความเป็นมา โครงสร้างอำนาจหน้าที่ภารกิจ นโยบาย บุคลากร งบประมาณ และผลการดำเนินงานของศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (2) ศึกษาสาเหตุของการยุบศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (3) ศึกษาผลกระทบหลังการยุบศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดขายแดนภาคใต้ (4) เสนอยุทธศาสตร์การบริหารราชการในจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่เหมาะสม ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ ใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพ เป็นการศึกษาค้นคว้าจากข้อมูลเอกสารเป็นหลัก การสังเกตสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในพื้นที่ การสัมภาษณ์ ผู้นำชุมชนผู้นำท้องถิ่น ข้าราชการ และนำข้อมูลมาประมวลศึกษาวิเคราะห์แบบพรรณนา พร้อมเหตุผลและการอ้างอิง มีข้อมูลบางส่วนเป็นลักษณะของการคาดคะเน ผลการศึกษาพบว่า การยุบเลิกศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นการกำหนดนโยบายที่ผิดพลาด เนื่องจาก (1) การยุบเลิกหน่วยงานไม่มีการเตรียมความพร้อมของหน่วยงานที่จะเข้าไปรับภารกิจต่อ (2) บทบาทของผู้ว่าราชการจังหวัด (ซีอีโอ) ไม่มีภารกิจด้านความมั่นคง (3) การตั้งสมมติฐานผิดที่ว่าไม่มีขบวนการแบ่งแยกดินแดนเคลื่อนไหวในพื้นที่ ทำให้การกำหนดนโยบายใหม่มีความผิดพลาดส่งผลกระทบตามมาอย่างมากมาย (4) ขาดองค์กรในการอำนวยการในพื้นที่ ทำให้การแก้ไขปัญหาไม่มีแนวทางที่ชัดเจน (5) การปฏิรูประบบราชการส่งผลกระทบต่อหน่วยงานระดับปฏิบัติ นอกจากนี้ ยังพบว่า เจ้าหน้าที่ที่ลงไปปฏิบัติงานในพื้นที่ไม่มีความเด้านพื้นฐานทางสังคม ศาสนา วัฒนธรรมประเพณี ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการแก้ไขปัญหา ดังนั้น รัฐบาลควรนำนโยบายความมั่นคงแห่งชาติเกี่ยวกับจังหวัดชายแดนภาคใต้ มาเป็นยุทธศาสตร์ในการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้อีกครั้ง เพึ่อให้การแก้ไขปัญหาครอบคลุมทุกเรื่องและเป็นไปในทิศทางเดียวกัน โดยมอบหมายภารกิจ อำนาจ หน้าที่ผ่านหน่วยงานที่จัดตั้งใหม่คือ คณะกรรมการอำนวยการแก้ใขปัญหา จังหวัดชายแดนภาคใต้ และสำนักงานสภาจังหวัดชายแดนภาคใต้
Description: วิทยานิพนธ์ (ร.ม. (การเมืองการปกครอง))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2548
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1007
Appears in Collections:Pol-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Thesbib90484.pdfเอกสารฉบับเต็ม16.33 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons