กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10081
ชื่อเรื่อง: การขับเคลื่อนสหกรณ์ออมทรัพย์สีขาวด้วยธรรมาภิบาลในจังหวัดตาก
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Moving the white savings cooperative with good governance in Tak Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ส่งเสริม หอมกลิ่น, อาจารย์ที่ปรึกษา
ศิริลักษณ์ นามวงศ์, อาจารย์ที่ปรึกษา
นฐมน แว่นจันทร์, 2528-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสหกรณ์ --วิทยานิพนธ์
ธรรมรัฐ--ไทย--ตาก
สหกรณ์ออมทรัพย์--ไทย--ตาก--การบริหาร.
วันที่เผยแพร่: 2562
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพทั่วไปและผลการประเมินสหกรณ์สีขาวด้วยธรรมาภิบาลของสหกรณ์ออมทรัพย์ในจังหวัดตาก 2) วิธีการขับเคลื่อนสหกรณ์ สีขาวด้วยธรรมาภิบาล 3) ระดับการดำเนินการขับเคลื่อนสหกรณ์สีขาวด้วยธรรมาภิบาล 4) แนวทางการขับเคลื่อนสหกรณ์สีขาวด้วยธรรมาภิบาล และ 5) ปัญหาและอุปสรรคในการขับเคลื่อนสหกรณ์สีขาวด้วยธรรมาภิบาลของสหกรณ์ออมทรัพย์ในจังหวัดตาก การวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน ประชากรในการวิจัย คือ สหกรณ์ออมทรัพย์ที่สมัครใจเข้าร่วมโครงการสหกรณ์สีขาวด้วยธรรมาภิบาลในจังหวัดตาก ประจำปี 2562 ทั้งหมด ได้แก่ 1) สหกรณ์ออมทรัพย์ครูตาก จำกัด 2) สหกรณ์ออมทรัพย์สาธารณสุขตาก จำกัด และ 3) สหกรณ์ออมทรัพย์ตำรวจตระเวนชายแดนที่ 34 จำกัด โดยศึกษาจากผู้ให้ข้อมูลที่สำคัญของสหกรณ์ทั้ง 3 แห่ง ประกอบด้วย คณะกรรมการ เจ้าหน้าที่สหกรณ์ ผู้ตรวจประเมินสหกรณ์ และเจ้าหน้าที่สำนักงานสหกรณ์จังหวัดเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับสหกรณ์สีขาวด้วยธรรมาภิบาล การเลือกแบบเจาะจง สหกรณ์ละเท่าๆ กัน จำนวน 51 คน เครื่องมือที่ในการวิจัย แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง จำนวน 14 คน และแบบสอบถาม จำนวน 51 คน การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ ได้แก่ การวิเคราะห์เนื้อหาการจัดลำดับ การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) สหกรณ์ออมทรัพย์ทั้ง 3 แห่ง ได้รับการตรวจประเมินสหกรณ์สีขาวด้วยธรรมาภิบาล 9 หลัก ผลการประเมิน สหกรณ์ออมทรัพย์ครูตาก จำกัด ผ่านการประเมิน “สหกรณ์สีขาวด้วยธรรมาภิบาล” สหกรณ์ออมทรัพย์สาธารณสุขตาก จำกัด และสหกรณ์ออมทรัพย์ตำรวจตระเวนชายแดนที่ 34 จำกัด ไม่ผ่านการประเมินในทุกหลัก 2) วิธีการขับเคลื่อนสหกรณ์สีขาวด้วยธรรมาภิบาล ผลจากการสัมภาษณ์พบว่าสหกรณ์ที่ผ่านการประเมินมีการดำเนินงานในระยะก่อนการประเมิน ระหว่างการประเมิน และระยะหลังการประเมินมีความเข้มข้นจริงจัง และแบบมีส่วนร่วมที่ชัดเจนกว่าสหกรณ์ที่ไม่ผ่านการประเมิน 3) ระดับการดำเนินการขับเคลื่อนสหกรณ์สีขาวด้วยธรรมาภิบาล ผลจากการวิเคราะห์แบบสอบถามพบว่าสหกรณ์ที่ผ่านเกณฑ์ประเมินมีระดับการขับเคลื่อนมีการดำเนินงานการขับเคลื่อนในระดับมากและมากที่สุด สหกรณ์ที่ไม่ผ่านการประเมิน มีการดำเนินงานในระดับปานกลางและระดับมาก 4) แนวทางการขับเคลื่อนสหกรณ์สีขาวด้วยธรรมาภิบาล พบว่าสหกรณ์ที่ผ่านการประเมินมีการปฏิบัติตามวิธีการขับเคลื่อนธรรมาภิบาลในแต่ละระยะอย่างชัดเจน และต่อเนื่อง ปัจจัยความสำเร็จ คือ ความซื่อสัตย์ การเสียสละ ทุ่มเท ร่วมแรงร่วมใจจากทุกฝ่าย การมีส่วนร่วมของสมาชิกและการนำนโยบายลงมาสู่การปฏิบัติให้เกิดเป็นรูปธรรมและมีกระบวนการดำเนินงาน การติดตามประเมินผลอย่างต่อเนื่อง 5) ปัญหา และข้อเสนอแนะการขับเคลื่อนสหกรณ์สีขาวด้วยธรรมาภิบาล ได้แก่ การกำหนดทิศทางองค์กรและการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ยังไม่ชัดเจน การจัดการระบบการบริหารงานยังไม่ครอบคลุม และหลักเกณฑ์การประเมินบางประเด็นยังไม่ชัดเจน ข้อเสนอแนะผู้บริหารสหกรณ์ควรสร้างนโยบาย ค่านิยม สร้างแรงจูงใจแก่เจ้าหน้าที่และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียให้ปฏิบัติตามหลักธรรมาภิบาล เพื่อเพิ่มความเชื่อมั่นและผ่านเกณฑ์การประเมินสหกรณ์สีขาวด้วยธรรมาภิบาล
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (บธ.ม.(สหกรณ์))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2562
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10081
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Agri-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
165202.pdfเอกสารฉบับเต็ม27.58 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons