Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10082
Title: การจัดการเกษตรแบบผสมผสานตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกรณีศึกษา นายสายัญ มุ่งเขตกลาง จังหวัดอุทัยธานี
Other Titles: Management of integrated agriculture with sufficiency economy philosophy approach: a case study of Mr. Sayan Moongkedklang, Uthai Thani Province
Authors: สัจจา บรรจงศิริ, อาจารย์ที่ปรึกษา
วรรธนัย อ้นสำราญ, อาจารย์ที่ปรึกษา
พระศุกร์ หัยภาค, 2526-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการจัดการการเกษตร --วิทยานิพนธ์
เศรษฐกิจพอเพียง--ไทย
เกษตรกรรมแบบผสมผสาน
เกษตรทฤษฎีใหม่
การมีส่วนร่วมของเกษตรกร--ไทย--อุทัยธานี
Issue Date: 2563
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ข้อมูลพื้นฐานของสวนและเกษตรกรกรณีศึกษา นายสายัญ มุ่งเขตกลาง 2) รูปแบบการจัดการเกษตรแบบผสมผสานตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของกรณีศึกษา นายสายัญ มุ่งเขตกลาง และ 3) ปัจจัยที่ทำให้เกษตรกรประสบความสำเร็จการคัดเลือกผู้ให้ข้อมูลแบบเจาะจง คือนายสายัญ มุ่งเขตกลาง โดยมีเงื่อนไขเป็นเกษตรกรที่ประสบผลสําเร็จในด้านเกษตรแบบผสมผสาน เป็นแบบอย่างที่ดีของชุมชนหมู่บ้านเขาพระ และเป็นแหล่งเรียนรู้ในการศึกษาดูงาน เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์และการสังเกต เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสัมภาษณ์เชิงลึก และแบบบันทึกการสังเกต การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ ใช้การจําแนกและจัดกลุ่มข้อมูล การวิเคราะห์องค์ประกอบและการศีกษาความเป็นเหตุและผล ผลการวิจัยพบว่า 1) ข้อมูลพื้นฐานของสวน ดินเป็นดินร่วนปนดินเหนียว ภูมิประเทศเป็นที่ตอนสลับที่ลุ่ม สภาพภูมิอากาศค่อนข้างแปรปรวน ข้อมูลเกษตรกร อายุ 58 ปี จบการศึกษาประถมศึกษาปีที่ 4 นับถือศาสนาพุทธ มีการดำรงชีวิตแบบเรียบง่ายที่ยึดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เป็นแบบอย่างให้คนในชุมชนรวมทั้งแหล่งเรียนรู้ และสวนตัวอย่างของชุมชน 2) รูปแบบการจัดการเกษตรแบบผสมผสานตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง (1) ด้านการจัดการกระบวนการผลิต การใช้ที่ดินเพื่อผลิตจำนวน 20 ไร่ แบ่งเป็น 2 ส่วน ได้แก่ พื้นที่ด้านทิศตะวันตก เป็นพื้นที่ดอน ปลูกผักสวนครัว ไม้ผล เลี้ยงไก่ไข่ และเลี้ยงปลา พื้นที่ด้านทิศตะวันออกเป็นที่ราบลุ่ม เหมาะแก่การทำนา มีการขุดสระเก็บน้ำไว้ใช้ในฤดูแล้ง มีการเก็บเมล็ดพันธุ์ไว้ใช้เอง ผลิตน้ำส้มควันไม้ เพื่อป้องกันกำจัดแมลงศัตรูพืช มีการจัดการเครื่องจักรเครื่องทุ่นแรงอย่างคุ้มค่า มีการใช้แรงงานในครอบครัวมีการวางแผนการใช้เงิน ด้านการจัดการส่วนประสมการตลาดโดยผลิตสินค้าตามความต้องการของตลาด เน้นสินค้าคุณภาพ สดสะอาด และปลอดภัย ราคาสมเหตุสมผล ขายตรงไปยังตลาดเป้าหมาย การประชาสัมพันธ์เป็นไปในลักษณะการบอกต่อ และ (2) ด้านการจัดการตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ใช้หลักความพอประมาณ ผลิตเพื่อบริโภคเหลือจึงจําหน่าย ความมีเหตุผลผลิตตามศักยภาพของพื้นที่และองค์ความรู้ที่มีความมีภูมิคุ้มกันมีการวางแผนการทำกิจกรรมที่เกื้อกูล พืชปานาญชีวิตและแผนการออม ด้านเงื่อนไขความรู้มีการนำความรู้มาใช้ในการจัดการการผลิตและการตลาด ด้านคุณธรรมมีความโปร่งใส ซื่อสัตย์สุจริตและมีจริยธรรมในการดำเนินธุรกิจกับคู่ค้าอย่างเสมอภาค และมีความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม และ 3) ปัจจัยที่ทำให้ประสบความสำเร็จ ประกอบด้วยปัจจัยภายใน ได้แก่ การวางแผนการใช้ชีวิต ประสบการณ์ของเกษตรกร ทุนดำเนินการของเกษตรกร และการได้รับความไว้วางใจ ปัจจัยภายนอก ได้แก่ ภูมิประเทศที่เหมาะสม การสนับสนุนจากหน่วยงานภาครัฐ และการสนับสนุนการเรียน
Description: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม.(การจัดการการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2563
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10082
Appears in Collections:Agri-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
165527.pdfเอกสารฉบับเต็ม3.71 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons