Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10084
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสินีนุช ครุฑเมือง แสนเสริม, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.advisorพลสราญ สราญรมย์, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.authorภาวิณี นันต๊ะสิงห์, 2530--
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษาth_TH
dc.date.accessioned2023-10-30T03:46:33Z-
dc.date.available2023-10-30T03:46:33Z-
dc.date.issued2562-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10084-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (กษ.ม.(ส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2562th_TH
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ปัจจัยทางสังคม ปัจจัยทางเศรษฐกิจ 2) ความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีการตัดแต่งช่อผลลำไย 3) การยอมรับเทคโนโลยีการคัดแต่งช่อผลลำไย 4) ปัญหาและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการยอมรับเทคโนโลยีการตัดแต่งช่อผลลำไยของเกษตรกร 5) ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการยอมรับเทคโนโลยีการตัดแต่งช่อผลลำไย ประชากรในการวิจัย คือ เกษตรกรกลุ่มแปลงใหญ่ลำไยในอำเภอเวียงหนองล่อง จังหวัดลำพูน ปี 2562 จำนวนทั้งสิ้น 263 คน กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่าง โดยใช้สูตรคำนวนของทาโร่ ย่ามาเน ที่ระดับความคลาดเคลื่อน 0.05 ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 159 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่ายโดยการจับสลากจากรายชื่อเกษตรกรตามสัดส่วน เก็บรวบรวมข้อมูล โดยใช้แบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้สถิติพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การจัดอันดับ และวิเคราะห์ถดถอยพหุ ผลการวิจัยพบว่า 1) เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีอายุเฉลี่ย 53.43 ปี จบการศึกษาระดับประถมศึกษา ประสบการณ์ในการปลูกลำไยเฉลี่ย 19.21 ปี พื้นที่ปลูกลำไยเฉลี่ย 8.73 ไร่ ต้นทุนการผลิตเฉลี่ย 13,375 บาทต่อไร่ ส่วนใหญ่จำหน่ายผลผลิตแบบเก็บเองขายเอง รายได้เฉลี่ย 17,829 บาทต่อไร่ ผลผลิตเฉลี่ย 1,434 กิโลกรัมต่อไร่ 2) เกษตรกรมีความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีการตัดแต่งช่อผลลำไยอยู่ในระดับมากที่สุด โดยเกษตรกรมีความรู้มากที่สุดในประเด็น ต้นลำไยที่ติดผลดกควรตัดแต่งช่อผลเพื่อให้ลำไยมีขนาดที่ใหญ่ขึ้นและผลลำไยมีความสม่ำเสมอ 3) เกษตรกรมีการยอมรับเชิงความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก โดยมีการยอมรับเชิงความคิดเห็นมากที่สุด คือ การตัดแต่งช่อผลลำไยสามารถช่วยเพิ่มขนาดของลำไยให้ใหญ่ขึ้น แต่มีการยอมรับนำไปปฏิบัติอยู่ในระดับน้อยที่สุด โดยมีการยอมรับไปปฏิบัติน้อยที่สุด คือการตัดแต่งช่อผลลำไยด้วยวิธีตัดช่อเว้นช่อทิ้งเป็นช่องไฟเท่านั้น 4) เกษตรกรมีปัญหาอยู่ในระดับมาก โดยมีปัญหามากที่สุด คือ ค่าจ้างแรงงานในการตัดแต่งช่อผลสูง โดยเห็นด้วยกับข้อเสนอแนะมากที่สุดคือ ควรมีแปลงตัวอย่างในพื้นที่เพื่อใช้ในการศึกษาเรียนรู้ในทุกขั้นตอนอย่างถูกต้อง 5) ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการยอมรับเชิงความคิดเห็นที่ระดับนัยสำคัญยิ่งทางสถิติที่ระดับ 0.01 ได้แก่ อายุ และความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีการตัดแต่งช่อผลลำไย ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ได้แก่ ประสบการณ์ในการปลูกลำไยและผลผลิตลำไย สำหรับปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการยอมรับเชิงปฏิบัติ ที่ระดับนัยสำคัญยิ่งทางสถิติที่ระดับ 0.01 ได้แก่ ผลผลิตลำไยth_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร --วิทยานิพนธ์th_TH
dc.subjectลำไย--การตัดแต่ง--ไทย--ลำพูน.th_TH
dc.titleปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการยอมรับเทคโนโลยีการตัดแต่งช่อผลลำไยของกลุ่มเกษตรกรแปลงใหญ่ลำไยในอำเภอเวียงหนองล่อง จังหวัดลำพูนth_TH
dc.title.alternativeFactors relating to the adoption of longan fruit thinning technology of longan collaborative farming groups in Wiang Nong Long District of Lamphun Provinceen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameเกษตรศาสตรมหาบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์th_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeThe objectives of this research were to study 1) social factors, economic factors, 2) knowledge of longan fruit thinning technology 3) the adoption of longan fruit thinning technology 4) problem and suggestions of longan fruit thinning technology of farmers 5) factors relating to the adoption of longan fruit thinning technology. The population in this study was 263 large land plot longan production farmers in year 2019 in Wiang Nong Long district, Lamphun province. The sample size of 159 people was determined by using Taro Yamane formula with an error value of 0.05 and selected by simple random sampling method by using farmers name lottery. The data were collected by sutural interview questionnaire and was analyzed by using descriptive statistics such as frequency, percentage, minimum value, maximum value, mean, standard deviation ranking, and multiple regression. The results of the research showed that 1) Most of the farmers were male with the average age of 53.43 years and completed primary school education. The average longan production experience was 19.21 years, the average longan production area was 8.73 Rai, and the average production cost was 13,375 Baht/Rai. Most of the products for sale were picked by themselves with the average income of 17,829 Baht/Rai and the average productivity of 1,434 kilogram/Rai. 2) Farmers had knowledge about longan fruit thinning technology at the highest level. Farmers had the highest level of knowledge about longan trees with fruitful production should be thinned in order for the longan fruits to be larger and yield consistent longan fruits. 3) Farmers adopted in theory at the high level with the most acceptance aspect on the thinning of longan fruits enabled the fruits to grow bigger. However, the adoption in practice was at the lowest level with the lowest level of adoption into practice in the longan fruit thinning by using the method of cutting every other bunch to provide gaps between them only. 4) Farmers faced with the problem at the high level with the most problematic issue on the wage of labors in high fruit thinning. They agreed upon the suggestion at the high level on the aspect that there should be demonstration crop in the area for accurate learning in every step. 5) Factors relating to the adoption in theory at statistically significant level of 0.01 included age and knowledge of longan fruit thinning technology while at statistically significant level of 0.05 were such as longan production experiences and longan products. For factor relating the adoption in practice at statistically significant level of 0.01 were such as longan products.en_US
Appears in Collections:Agri-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
165203.pdfเอกสารฉบับเต็ม12.93 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons