กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10084
ชื่อเรื่อง: ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการยอมรับเทคโนโลยีการตัดแต่งช่อผลลำไยของกลุ่มเกษตรกรแปลงใหญ่ลำไยในอำเภอเวียงหนองล่อง จังหวัดลำพูน
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Factors relating to the adoption of longan fruit thinning technology of longan collaborative farming groups in Wiang Nong Long District of Lamphun Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สินีนุช ครุฑเมือง แสนเสริม, อาจารย์ที่ปรึกษา
พลสราญ สราญรมย์, อาจารย์ที่ปรึกษา
ภาวิณี นันต๊ะสิงห์, 2530-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร --วิทยานิพนธ์
ลำไย--การตัดแต่ง--ไทย--ลำพูน.
วันที่เผยแพร่: 2562
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ปัจจัยทางสังคม ปัจจัยทางเศรษฐกิจ 2) ความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีการตัดแต่งช่อผลลำไย 3) การยอมรับเทคโนโลยีการคัดแต่งช่อผลลำไย 4) ปัญหาและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการยอมรับเทคโนโลยีการตัดแต่งช่อผลลำไยของเกษตรกร 5) ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการยอมรับเทคโนโลยีการตัดแต่งช่อผลลำไย ประชากรในการวิจัย คือ เกษตรกรกลุ่มแปลงใหญ่ลำไยในอำเภอเวียงหนองล่อง จังหวัดลำพูน ปี 2562 จำนวนทั้งสิ้น 263 คน กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่าง โดยใช้สูตรคำนวนของทาโร่ ย่ามาเน ที่ระดับความคลาดเคลื่อน 0.05 ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 159 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่ายโดยการจับสลากจากรายชื่อเกษตรกรตามสัดส่วน เก็บรวบรวมข้อมูล โดยใช้แบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้สถิติพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การจัดอันดับ และวิเคราะห์ถดถอยพหุ ผลการวิจัยพบว่า 1) เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีอายุเฉลี่ย 53.43 ปี จบการศึกษาระดับประถมศึกษา ประสบการณ์ในการปลูกลำไยเฉลี่ย 19.21 ปี พื้นที่ปลูกลำไยเฉลี่ย 8.73 ไร่ ต้นทุนการผลิตเฉลี่ย 13,375 บาทต่อไร่ ส่วนใหญ่จำหน่ายผลผลิตแบบเก็บเองขายเอง รายได้เฉลี่ย 17,829 บาทต่อไร่ ผลผลิตเฉลี่ย 1,434 กิโลกรัมต่อไร่ 2) เกษตรกรมีความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีการตัดแต่งช่อผลลำไยอยู่ในระดับมากที่สุด โดยเกษตรกรมีความรู้มากที่สุดในประเด็น ต้นลำไยที่ติดผลดกควรตัดแต่งช่อผลเพื่อให้ลำไยมีขนาดที่ใหญ่ขึ้นและผลลำไยมีความสม่ำเสมอ 3) เกษตรกรมีการยอมรับเชิงความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก โดยมีการยอมรับเชิงความคิดเห็นมากที่สุด คือ การตัดแต่งช่อผลลำไยสามารถช่วยเพิ่มขนาดของลำไยให้ใหญ่ขึ้น แต่มีการยอมรับนำไปปฏิบัติอยู่ในระดับน้อยที่สุด โดยมีการยอมรับไปปฏิบัติน้อยที่สุด คือการตัดแต่งช่อผลลำไยด้วยวิธีตัดช่อเว้นช่อทิ้งเป็นช่องไฟเท่านั้น 4) เกษตรกรมีปัญหาอยู่ในระดับมาก โดยมีปัญหามากที่สุด คือ ค่าจ้างแรงงานในการตัดแต่งช่อผลสูง โดยเห็นด้วยกับข้อเสนอแนะมากที่สุดคือ ควรมีแปลงตัวอย่างในพื้นที่เพื่อใช้ในการศึกษาเรียนรู้ในทุกขั้นตอนอย่างถูกต้อง 5) ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการยอมรับเชิงความคิดเห็นที่ระดับนัยสำคัญยิ่งทางสถิติที่ระดับ 0.01 ได้แก่ อายุ และความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีการตัดแต่งช่อผลลำไย ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ได้แก่ ประสบการณ์ในการปลูกลำไยและผลผลิตลำไย สำหรับปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการยอมรับเชิงปฏิบัติ ที่ระดับนัยสำคัญยิ่งทางสถิติที่ระดับ 0.01 ได้แก่ ผลผลิตลำไย
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม.(ส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2562
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10084
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Agri-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
165203.pdfเอกสารฉบับเต็ม12.93 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons