กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10086
ชื่อเรื่อง: การผลิตยางพาราและความต้องการการส่งเสริมของเกษตรกร ในอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุ
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Para rubber production and extension needs of farmers in Sangkhla Buri district, Kanchanaburi Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: บำเพ็ญ เขียวหวาน, อาจารย์ที่ปรึกษา
ภรณี ต่างวิวัฒน์, อาจารย์ที่ปรึกษา
เจนจิรา ลีละผลิน, 2529-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร --วิทยานิพนธ์
ยางพารา--การผลิต
การส่งเสริมการเกษตร--ไทย--กาญจนบุรี
วันที่เผยแพร่: 2562
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพพื้นฐานทางสังคมและเศรษฐกิจของเกษตรกรผู้ปลูกยางพารา 2) สภาพการผลิตยางพาราของเกษตรกร 3) ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับยางพาราของเกษตรกร 4) ความต้องการการส่งเสริมในการผลิตยางพาราของเกษตรกร 5) ปัญหาและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการผลิตและการส่งเสริมการผลิตยางพาราของเกษตรกร ประชากรที่ศึกษา คือ เกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนปลูกยางพารากับสำนักงานเกษตรอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี ตามข้อมูลในระบบฐานข้อมูลกรมส่งเสริมการเกษตร ปี 2559 จํานวน 853 ราย กําหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรทาโร่ ยามาเน่ ที่ค่าความคลาดเคลื่อน 0.05 ได้ตัวอย่าง 273 ราย ทําการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) เกษตรกรส่วนใหญ่ เป็นเพศชาย อายุเฉลี่ย 48.99 ปี ระดับการศึกษาส่วนใหญ่ เกษตรกรจบการศึกษาระดับประถมศึกษา จํานวนสมาชิกในครัวเรือนเฉลี่ย 4.36 คน มีประสบการณ์ในการทําสวนยางพาราเฉลี่ย 140 ปี เกษตรกรมีรายได้เฉลี่ยต่อปี 185,677.66 บาท 2) ลักษณะพื้นที่ปลูกยางพาราของเกษตรกรส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ดอน มีพื้นที่ปลูกยางพาราเฉลี่ย 17.00 ไร่ อายุยางเฉลี่ย 12.74 ปี พันธุ์ยางที่ปลูกส่วนมาก คือ RRIM 600 ระยะปลูกส่วนใหญ่อยู่ที่ 2.5x7 เมตร เกษตรกรส่วนใหญ่ไม่มีการกำจัดวัชพืช ใส่ปุ๋ยปีละ 1 ครั้ง ใช้วิธีโรยเป็นแถว ส่วนใหญ่ใส่ปุ๋ยสูตร 20-8-20 อัตราการใส่ 0.5 กิโลกรัม/ด้น/ปี และไม่มีการป้องกันกำจัดศัตรูพืชที่พบการกรีดยางพาราส่วนใหญ่จะใช้ระบบ กรีดครึ่ง ต้น กรีก 1 วันเว้น 2 วัน เกษตรกรจะแปรรูปยางพาราในรูปแบบของยางแผ่นดิบและขายผลผลิตให้กับกลุ่มเกษตรกร 3) ความรู้ของเกษตรกร พบว่า เกษตรกรมีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการผลิตยางพาราในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง โดยมีความรู้เกี่ยวกับพื้นที่ที่สูงกว่าระดับน้ำทะเล 600 เมตร จะทำให้การเจริญเติบโตของต้นยางลดลง น้อยกว่าข้ออื่นๆ 4) ความต้องการในการส่งเสริมของเกษตรกรระดับมากที่สุดในภาพรวม และด้านต่อไป ด้านการแปรรูปยางพารา วิธีการส่งเสริมแบบกลุ่ม การบริการและสนับสนุนปัจจัยการผลิต 5) ปัญหาของเกษตรกร ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยเฉพาะปัญหาขาดแคลนแรงงานกรีดยางที่มีฝีมือ และเงินทุน และเกษตรกรเสนอแนะให้มีการฝึกอบรมการกรีดยางพารา การดูแลรักษาสวนยางพารา การใช้ปุ๋ยและการผลิตยางพาราแผ่นคุณภาพโดยให้มีการสาธิตและมีเกษตรกรแกนนําประจําหมู่บ้าน
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม.(ส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2562
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10086
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Agri-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
165530.pdfเอกสารฉบับเต็ม3.38 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons