กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1008
ชื่อเรื่อง: | การรับรู้ข่าวสารทางการเมืองกับความคิดทางการเมืองของกลุ่มนักเรียนผู้เริ่มมีสิทธิเลือกตั้ง ระดับมัธยมศึกษาปีที่ 6 จังหวัดกาญจนบุรี |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Reception of political news and political ideas of new voters in Grade Matayom 6 in Kanchanaburi Province |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | ปธาน สุวรรณมงคล นิธิศ จิตนิยม, 2506- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา ธโสธร ตู้ทองคํา |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชารัฐศาสตร์ -- วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการเมืองการปกครอง -- วิทยานิพนธ์ เยาวชน -- กิจกรรมทางการเมือง เด็กกับการเมือง |
วันที่เผยแพร่: | 2555 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) การรับรู้ข่าวสารทางการเมือง ของกลุ่มนักเรียนผู้เริ่มมีสิทธิเลือกตั้งระดับชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 6 จังหวัดกาญจนบุรี (2) ความคิดทางการเมือง ของกลุ่มนักเรียนผู้เริ่มมีสิทธิเลือกตั้งระดับมีมัธยมศึกษาปีที่ 6 จังหวัดกาญจนบุรี การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพ ประชากรวิจัย ได้แก่ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่เริ่มมีสิทธิเลือกตั้งจังหวัดกาญจนบุรี โดยกลุ่มตัวอย่างวิจัยเชิงปริมาณมี จำนวน 333 คน กลุ่มตัวอย่างวิจัยเชิงคุณภาพ มี จำนวน 35 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือแบบสัมภาษณ์ วิเคราห์ข้อมูลโดยการหาค่าร้อยละ ค่าความถี่และการวิเคราะห์เชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า (1) การรับรู้ข่าวสารทางการเมืองของกลุ่มนักเรียนผู้เริ่มมีสิทธิเลิกตั้งจังหวัดกาญจนบุรี ส่วนใหญ่มีการรับรู้ข่าวสารทางการเมืองผ่านสื่อโทรทัศน์มากที่สุด โดยที่กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ระบุว่า การประชาสัมพันธ์ให้ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับการเมืองและการเลือกตั้งในสถานศึกษายังมีน้อยมาก (2) ความคิดทางการเมืองของกลุ่มนักเรียนผู้เริ่มมีสิทธิเลือกตั้งระดับ มัธยมศึกษาปีที่ 6 จังหวัดกาญจนบุรี ส่วนใหญ่เห็นว่าการเมืองยังเป็นเรื่องการแสวงหาผลประโยชน์ แสวงหาอำนาจและเอื้อประโยชน์แก่พวกพ้องยังมีการซื้อสิทธิ์ขายเสียงและสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่ได้รับการเลือกตั้งยังขาดคุณภาพจริยธรรมและความซื่อสัตย์ และกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ เห็นด้วยกับการที่นายกรัฐมนตรีควรมาจากการเลือกตั้งและการเลือกตั้งคือวิธีการที่ดีที่สุดในระบอบประชาธิปไตย และควรเปิดโอกาสให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมในการตัดสินใจทางการเมือง |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (ร.ม. (การเมืองการปกครอง))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2555 |
URI: | http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1008 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Pol-Theses |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
Thesbib137410.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 14.32 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License