กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10094
ชื่อเรื่อง: วิเคราะห์การลงโทษเป็นพินัยในประเทศไทย
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Analysis of Geldstrafe in Thailand
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: อาจารี มีอินทร์เกิด มีสิทธิ์, อาจารย์ที่ปรึกษา
นิติรัฐ จันทร์จรัส, 2526-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม--การศึกษาเฉพาะกรณี
ค่าปรับ
มาตรการแทนการจำคุก
พระราชบัญญัติว่าด้วยการปรับเป็นพินัย
การศึกษาอิสระ--กฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม
วันที่เผยแพร่: 2564
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาวิเคราะห์การนำโทษปรับทางพินัย ตามร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการปรับเป็นพินัย พ.ศ. .... มาใช้บังคับแทนความผิดในทางอาญาที่มีโทษปรับสถานเดียว (2) ศึกษาวิเคราะห์การใช้บังคับร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการปรับเป็นพินัย พ.ศ. ....ของประเทศไทย เปรียบเทียบกับการลงโทษทางอาญาของสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ที่ และของสหรัฐอเมริกา (3) ให้ได้ข้อเสนอแนะหรือแนวทางที่เหมาะสมในการบังคับใช้ร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการปรับเป็นพินัย พ.ศ. .... และเสนอแนะแนวทางที่เหมาะสมเพื่อแก้ไขปรับปรุงร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการปรับเป็นพินัย พ.ศ. .... การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยวิธีเอกสารจากตัวบทกฎหมาย ตำราทางวิชาการ งานวิจัย คำพิพากษาศาลฎีกา บทความจากวารสารหรือนิตยสารทางกฎหมาย ข้อมูลจากเว็บไซต์ทางอินเตอร์เน็ตทั้งของประเทศไทยและของต่างประเทศเกี่ยวกับมาตราทดแทนการลงโทษทางอาญา เช่น สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี และสหรัฐอเมริกา เพื่อเป็นข้อมูลในการวิเคราะห์ปัญหา เปรียบเทียบ สรุปและข้อเสนอแนะ จากการศึกษาพบว่า (1) การลงโทษปรับทางพินัย ตามร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการปรับเป็นพินัย พ.ศ. ....ของประเทศไทย ไม่ได้แยกความรับผิดลหุโทษตามประมวลกฎหมายอาญา ออกจากดินแดนของโทษทางอาญา และไม่ได้กำหนดค่าปรับเป็นพินัยไว้อย่างชัดเจน อีกทั้งยังจำกัดสิทธิอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงอย่างเด็ดขาด (2) การลงโทษผู้กระทำความผิดของสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี และสหรัฐอเมริกา ได้แยกความรับผิดทางปกครอง และความผิดลหุโทษ ออกจากดินแดนของโทษทางอาญา โดยใช้ระบบการบังคับโทษปรับแบบแปรผัน ทั้งไม่จำกัดสิทธิอุทธรณ์ของผู้ต้องโทษโดยเด็ดขาด (3) ร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการปรับเป็นพินัย พ.ศ. ....ของประเทศไทย ควรนำแนวทางของสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี และสหรัฐอเมริกา มาปรับใช้เพื่อให้การบังคับโทษปรับทางพินัยเป็นไปตามวัตถุประสงค์ในลดปัญหาการลงโทษอาญาที่เกินความจำเป็น และมีประสิทธิภาพเพียงพอในการบังคับใช้กฎหมาย
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10094
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Law-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
168811.pdfเอกสารฉบับเต็ม10.6 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons