Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10095
Title: คุณภาพการให้บริการของสหกรณ์กับความภักดีของสมาชิกสหกรณ์การเกษตรบ้านเหลื่อม จำกัด จังหวัดนครราชสีมา
Other Titles: Quality of service of cooperatives and loyalty of members of Ban Lueam Agricultural Cooperative Limited, Nakhon Ratchasima Province
Authors: ส่งเสริม หอมกลิ่น, อาจารย์ที่ปรึกษา
ศิริลักษณ์ นามวงศ์, อาจารย์ที่ปรึกษา
นุตศรา วนสันเทียะ, 2524-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสหกรณ์ --วิทยานิพนธ์
สหกรณ์การเกษตรบ้านเหลื่อม--ความพอใจของผู้ใช้บริการ
Issue Date: 2562
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) คุณภาพการให้บริการของสหกรณ์การเกษตรบ้านเหลื่อม จำกัด 2) ความภักดีของสมาชิกสหกรณ์ 3) ความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลทั่วไปของสมาชิกสหกรณ์กับคุณภาพการให้บริการของสหกรณ์ 4) ความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลทั่วไปของสมาชิกสหกรณ์กันความภักดีของสมาชิกสหกรณ์ 5) ความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพการให้บริการของสหกรณ์กับความภักดีของสมาชิกสหกรณ์ และ 6) เสนอแนะแนวทางการพัฒนาคุณภาพการให้บริการของสหกรณ์ ประชากรที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ สมาชิกสหกรณ์การเกษตรบ้านเหลื่อม จำกัด ณ วันที่ 31 มีนาคม 2562 จำนวน 947 คน โดยศึกษาจากกลุ่มตัวอย่าง กำหนดขนาดตัวอย่างโดยใช้สูตรของทาโร่ ยามาเน่ ที่ค่าความคลาดเคลื่อน 0.05 จำนวน 282 คนการสุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญตามสัดส่วนสมาชิกแต่ละตำบลที่ใช้บริการกับสหกรณ์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบไค-สแควร์ และวัดระดับความสัมพันธ์โดยวิธีเครมเมอร์ วี วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า สมาชิกสหกรณ์เพศหญิงร้อยละ 51.80 เพศชาย ร้อยละ 48.20 อายุเฉลี่ย 59.15 ปี ระดับการศึกษาสูงสุดระดับประถมศึกษา รายได้เฉลี่ยต่อปี 63,206.38 บาท ระยะเวลาการเป็นสมาชิกสหกรณ์เฉลี่ย 18 ปี จำนวนการใช้บริการสหกรณ์ เฉลี่ย 3 ครั้งต่อปี 1) คุณภาพการให้บริการของสหกรณ์ โดยรวมอยู่ในระดับมาก โดยเรียงลำดับแต่ละด้านดังนี้ ด้านความเชื่อถือหรือไว้วางใจได้ ด้านการตอบสนองความต้องการ ด้านการให้ความมั่นใจ ด้านการดูแลเอาใจใส่ให้บริการ และด้านสิ่งที่สัมผัสได้ ตามลำดับ 2) ความภักดีของสมาชิกสหกรณ์ต่อสหกรณ์ โดยรวมอยู่ในระดับมากโดยเรียงลำดับแต่ละด้านดังนี้ ด้านความชอบ ด้านความผูกพัน ด้านการบอกต่อ และด้านพฤติกรรมการใช้ซ้ำตามลำดับ 3) ความสัมพันธ์ของข้อมูลทั่วไปของสมาชิกสหกรณ์ กับคุณภาพการให้บริการของสหกรณ์ พบว่า มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเพียงบางประเด็น โดยส่วนใหญ่มีความสัมพันธ์อยู่ในระดับปานกลาง 4) ความสัมพันธ์ของข้อมูลทั่วไปของสมาชิกสหกรณ์กับความภักดีของสมาชิกสหกรณ์ พบว่า มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเพียงบางประเด็น โดยส่วนใหญ่มีความสัมพันธ์อยู่ในระดับปานกลาง 5) ความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพการให้บริการของสหกรณ์กับความภักดีของสมาชิกสหกรณ์ พบว่ามีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติทุกด้าน โดยมีความสัมพันธ์อยู่ในระดับปานกลาง และ 6) แนวทางการพัฒนาคุณภาพการให้บริการของ ได้แก่ ด้านการแต่งกายของเจ้าหน้าที่ การตรงต่อเวลา ด้านเทคโนโลยีและการฝึกอบรมเพื่อพัฒนาเจ้าหน้าที่ แนวทางการสร้างความภักดีของสมาชิกที่มีต่อสหกรณ์ ได้แก่ สหกรณ์ไปประชุมกลุ่มสมาชิก ให้ความรู้ข่าวสารประชาสัมพันธ์งานสหกรณ์และการสร้างแรงจูงใจให้กับสมาชิกโดยใช้กลยุทธ์ทางการตลาดเพื่อกระตุ้นให้สมาชิกอยากกลับมาใช้บริการ
Description: วิทยานิพนธ์ (บธ.ม. (สหกรณ์)--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2562
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10095
Appears in Collections:Agri-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
165017.pdfเอกสารฉบับเต็ม17.58 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons