กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10098
ชื่อเรื่อง: | การพัฒนาชุดฝึกอบรมทางไกลโดยใช้สื่อประสม เรื่องการเขียนภาษาอังกฤษธุรกิจสำหรับพนักงานบริษัทผลไม้กระป๋อง จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | The development of a distance training package by using multimedia on business English writing for employees at canned-fruit companies in Prachuap Khiri Khan Province |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | ศศิกาญจน์ ทวิสุวรรณ กอบกาญจน์ สุทธิสม มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา บุญศรี พรหมมาพันธุ์ อลิสา วานิชดี |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์--วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการศึกษานอกระบบ--วิทยานิพนธ์ การฝึกอบรม--การสอนด้วยสื่อ พนักงานบริษัทผลไม้กระป๋อง--การฝึกอบรม ภาษาอังกฤษธุรกิจ--การสอนด้วยสื่อ |
วันที่เผยแพร่: | 2550 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) สำรวจความต้องการในการฝึกอบรมทางไกลโดย ใช้สื่อประสม เรื่องการเขียนภาษาอังกฤษธุรกิจสำหรับพนักงานบริษัทผลไม้กระป๋อง จังหวัด ประจวบคีรีขันธ์ (2) พัฒนาชุดฝึกอบรมทางไกลโดยใช้สื่อประสม เรื่องการเขียนภาษาอังกฤษ ธุรกิจสำหรับพนักงานบริษัทผลไม้กระป๋อง จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ (3) ศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการ เขียนภาษาอังกฤษธุรกิจ ก่อนการฝึกอบรมและหลังการฝึกอบรมด้วยชุดฝึกอบรมทางไกล และ (4) ศึกษาความคิดเห็นของผู้เข้ารับการฝึกอบรมที่มีต่อชุดฝึกอบรมทางไกล กลุ่มตัวอย่างเป็นพนักงานบริษัทผลไม้กระป๋อง จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จำนวน 123 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ (1) แบบสำรวจ ความ ต้องการฝึกอบรมทางไกลโดยใช้สื่อประสม (2) ชุดฝึกอบรมทางไกลโดยใช้สื่อประสม เรื่องการ เขียนภาษาอังกฤษธุรกิจสำหรับพนักงานบริษัทผลไม้กระป๋อง จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ (3) แบบทดสอบก่อนและหลังการฝึกอบรม และ (4) แบบสอบถามความคิดเห็นของผู้เข้ารับ การ ฝึกอบรมที่มีต่อชุดฝึกอบรมทางไกลนี้ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การหา ประสิทธิภาพด้วย E, /E, ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที ผลการวิจัย พบว่า (1) ความต้องการในการฝึกอบรมทางไกลโดยใช้สื่อประสม เรื่อง การเขียนภาษาอังกฤษธุรกิจสำหรับพนักงานบริษัทผลไม้กระป๋อง จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ มีความ ต้องการในระดับมาก (2) ชุดฝึกอบรมทางไกลที่พัฒนาขึ้นนี้ มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่กำหนด (3) ผู้เข้ารับการฝึกอบรมมีผลสัมฤทธิ์ทางการเขียนภาษาอังกฤษธุรกิจหลังการฝึกอบรมสูงขึ้น อย่างมี นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ (4) ผู้เข้ารับการฝึกอบรม มีความคิดเห็นต่อชุดฝึกอบรมทางไกล ในระดับมาก และการฝึกปฏิบัติด้วยสื่อซีดีรอม ในระดับมากที่สุด |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (ศษ.ม. (การศึกษานอกระบบ))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2550 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10098 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Edu-Theses |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
Fulltext.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 12.26 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License