Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10101
Title: แนวทางในการส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพเกษตรกรรุ่นใหม่ในจังหวัดระนอง
Other Titles: Guidelines for extension and development of the potential of young smart farmers in Ranong Province
Authors: บำเพ็ญ เขียวหวาน, อาจารย์ที่ปรึกษา
พลสราญ สราญรมย์, อาจารย์ที่ปรึกษา
มาลีรัตน์ โสะอ้น, 2525-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร --วิทยานิพนธ์
เกษตรกร--ไทย--ระนอง
การส่งเสริมการเกษตร
Issue Date: 2562
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ความรู้ด้านการเกษตร แหล่งเรียนรู้ และการนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ของเกษตรกรรุ่นใหม่ 2) ความคิดเห็นต่อการพัฒนา ความคิดเห็นต่อปัจจัยเกี่ยวข้องและการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจากการพัฒนาเกษตรกรรุ่นใหม่ 3) ศักยภาพ ความต้องการพัฒนาศักยภาพและการเชื่อมโยงเครือข่ายเกษตรกรรุ่นใหม่ 4) ปัญหา ข้อเสนอแนะและแนวทางในการส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพเกษตรกรรุ่นใหม่ ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ เกษตรกรรุ่นใหม่ จังหวัดระนองที่ได้รับการอบรมหลักสูตรเกษตรกรรุ่นใหม่ ในปี 2557-2563 จำนวนทั้งหมด 120 ราย และเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรผู้รับผิดชอบงานเกษตรกรรุ่นใหม่ จำนวน 6 ราย เก็บข้อมูลจากประชากรทั้งหมด โดยใช้แบบสอบถามแบบมีโครงสร้างและการสนทนากลุ่มผู้แทนเกษตรกรรุ่นใหม่และเจ้าหน้าที่ จำนวน 10 ราย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ค่าที (t-test) ผลการวิจัยพบว่า เกษตรกรรุ่นใหม่ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุเฉลี่ย 37.53 ปี จบการศึกษาระดับปริญญาตรีมีประสบการณ์ด้านการเกษตรเฉลี่ย 8.75 ปี การถือครองที่ดินเฉลี่ย 17.75 ไร่ รายได้ภาคเกษตรเฉลี่ย 206,958.30 บาทต่อปี 1) เกษตรกรมีความคิดเห็นในภาพรวมต่อระดับความรู้ด้านการเกษตรของตนเองก่อนการอบรมอยู่ในระดับน้อย โดยเฉพาะด้านประมงและด้านตลาด ส่วนหลังการอบรมมีความรู้อยู่ในระดับมากเพิ่มขึ้นทุกประเด็น และเมื่อเปรียบเทียบความรู้ก่อนและหลังอบรมพบว่ามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ด้านแหล่งความรู้เกษตรกรได้รับจากสื่อออนไลน์มากที่สุด รองลงมาคือสื่อบุคคล และมีการนำความรู้ไปใช้ประโยชน์อยู่ในระดับปานกลาง โดยเฉพาะการนำเทคโนโลยีหรือภูมิปัญญาท้องถิ่นมาประยุกต์ใช้ 2) ความคิดเห็นต่อการพัฒนาอยู่ในระดับปานกลาง โดยเฉพาะเรื่องการประชาสัมพันธ์ผลงาน และการมีบทบาททางสังคม ส่วนความคิดเห็นต่อปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาโดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลางโดยเฉพาะ เจ้าหน้าที่และหน่วยงาน หลักสูตรกิจกรรมในการพัฒนา ตัวเกษตรกรและเครือข่ายด้านการเปลี่ยนแปลงของเกษตรกรก่อนและหลังการอบรมมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยหลังอบรมมีการเปลี่ยนแปลงในระดับมากทุกประเด็น ทั้งต่อตนเอง ต่อเจ้าหน้าที่ และเครือข่าย 3) เกษตรกรมีศักยภาพอยู่ในระดับปานกลางและความต้องการพัฒนาศักยภาพอยู่ในระดับมาก โดยเฉพาะด้านความภาคภูมิในความเป็นเกษตรกร 4) เกษตรกรมีปัญหาในภาพรวมระดับปานกลาง โดยเฉพาะต้นทุนการผลิตที่สูง สภาพแวดล้อมพื้นที่ทำการเกษตรไม่เอื้ออำนวย เกษตรกรมีข้อเสนอแนะ คือ หน่วยงานควรรับสมัครเกษตรกรเข้าร่วมโครงการด้วยความสมัครใจ หลักสูตรการอบรมควรมาจากความต้องการของเกษตรกรรุ่นใหม่ เน้นความรู้เทคโนโลยีนวัตกรรมใหม่ๆ การลงมือปฏิบัติจริง วิทยากรเป็นผู้มีความรู้ความสามารถด้านแนวทางการส่งเสริม ได้แก่ การส่งเสริมการทำแผนผลิตรายบุคคล การปรับทัศนคติและการนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ การส่งเสริมการเชื่อมโยงเครือข่ายผ่านสื่อออนไลน์ รวมทั้งการผลักดันเกษตรกรรุ่นใหม่ให้มีบทบาทและเกิดความภาคภูมิใจในการเป็นเกษตรกร
Description: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม.(ส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2562
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10101
Appears in Collections:Agri-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
165205.pdfเอกสารฉบับเต็ม18.75 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons