กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10107
ชื่อเรื่อง: ชุดการเรียนด้วยคอมพิวเตอร์ผ่านเครือข่ายวิชาวิสัญญีวิทยา เรื่องความปลอดภัยของการให้ยาระงับความรู้สึก สำหรับนักศึกษาแพทย์ชั้นปีที่ 5 คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Computer-based learning packages via network in anesthesiology on the topic of safety in anesthesia fifth year medical students of the Faculty of Medicine, Chulalongkorn University
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ทิพย์เกสร บุญอำไพ
ราชศักดิ์ วิโรจน์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
สุปรียา ศิริพัฒนกุล
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์--วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา--วิทยานิพนธ์
การเรียนการสอนผ่านเว็บ
คอมพิวเตอร์ช่วยการสอน
นักศึกษาแพทย์--การศึกษาและการสอน
วันที่เผยแพร่: 2550
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) สร้างชุดการเรียนด้วยคอมพิวเตอร์ผ่านเครือข่าย วิชาวิสัญญีวิทยา เรื่อง ความปลอดภัยของการให้ยาระงับความรู้สึก ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 (2) ศึกษาความก้าวหน้าทางการเรียน ของนักศึกษาที่เรียนจากชุดการเรียนด้วยคอมพิวเตอร์ ผ่านเครือข่าย และ (3) ศึกษาความคิดเห็นของนักศึกษาที่มีต่อคุณภาพของชุดการเรียน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย เป็นนักศึกษาแพทย์ชั้นปีที่ 5 คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จำนวน 43 คน ได้มาจากวิธีสุ่มตัวอย่างแบบง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ (1) ชุดการเรียนด้วยคอมพิวเตอร์ผ่านเครือข่าย วิชา วิสัญญีวิทยา เรื่อง ความปลอดภัยของการให้ ยาระงับความรู้สึก จำนวน 3 หน่วย คือ หน่วยที่ 2 ความปลอดภัยของผู้รับบริการวิสัญญี หน่วยที่ 3 คุณภาพการให้บริการวิสัญญีวิทยา และ หน่วยที่ 4 การประเมินการให้บริการวิสัญญี (2) แบบ ทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน (3) แบบสอบถามความคิดเห็นของนักศึกษาที่มีต่อชุดการเรียนด้วย คอมพิวเตอร์ผ่านเครือข่าย และ (4) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ประสิทธิภาพ E,/Eg ค่าเฉลี่ย, ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที ผลการวิจัยพบว่า (1) ชุดการเรียนด้วยคอมพิวเตอร์ผ่านเครือข่ายที่สร้างขึ้นทั้ง 3 หน่วย มีประสิทธิภาพ 79.00/78.00, 79.00/81.33, และ 82.33/81.00 ตามลำดับเป็นไปตามเกณฑ์ 80/80 ที่ กำหนดไว้ (2) นักศึกษามีความก้าวหน้าทางการเรียนจากชุดการเรียนด้วยคอมพิวเตอร์ผ่านเครือข่าย เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ (3) นักศึกษามีความคิดเห็นต่อคุณภาพของชุดการ เรียนด้วยคอมพิวเตอร์ผ่านเครือข่ายในระดับเห็นด้วยอย่างยิ่ง
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (ศษ.ม. (เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2550
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10107
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Edu-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdfเอกสารฉบับเต็ม12.98 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons