กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10108
ชื่อเรื่อง: การดำเนินงานการส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The operation in collaborative farming of Lang Suan district in Chumphon Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: พลสราญ สราญรมย์, อาจารย์ที่ปรึกษา
สินีนุช ครุฑเมือง แสนเสริม, อาจารย์ที่ปรึกษา
สุธิษา สิมมา, 2531-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร --วิทยานิพนธ์
การส่งเสริมการเกษตร
วันที่เผยแพร่: 2562
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพพื้นฐานทั่วไปของเกษตรกร 2) การดำเนินงานการส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ 3) ความต้องการการส่งเสริมการค้าเนินงานการเกษตรแบบแปลงใหญ่ 4) ปัญหาการค้าเนินงานการเกษตรแปลงใหญ่ 5) ข้อเสนอแนะ และแนวทางการพัฒนาการดำเนินงานส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ สมาชิกของกลุ่มแปลงใหญ่ อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร ผ่านการจัดชั้นคุณภาพกลุ่มแปลงใหญ่ระดับ B และ C จำนวน 1,455 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างตามสูตรทาโร่ ยามาเน่ ทีค่าความคลาดเคลื่อนเท่ากับ 0.08 ได้ขนาดกลุ่มตัวอย่าง 142 คน สุ่มตัวอย่างแบบง่ายเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติในการวิเคราะห์ ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าสูงสุด ค่าต่ำสุด ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า 1) เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุเฉลี่ย 55.66 ปี จบการศึกษาประถมศึกษา มีจํานวนสมาชิกในครัวเรือนเฉลี่ย 3.52 คน จํานวนแรงงานในครัวเรือน 2.30 คน ระยะเวลาเข้าร่วมแปลงใหญ่ 1.85 ปี เกษตรกรส่วนใหญ่มีพื้นที่ถือครองทางการเกษตรเป็นของตนเอง มีพื้นที่ทางการเกษตรเฉลี่ย 6.83 ไร่ 2) เกษตรกรมีการดำเนินงานแปลงใหญ่ในระดับน้อย 3 อันดับแรก ได้แก่ การใช้เครื่องจักรกลร่วมกันการติดตามข้อมูลความต้องการของลูกค้าและตลาด และ แผนการลดต้นทุนที่ชัดเจน ตามลำดับ 3) เกษตรกรมีความต้องการการส่งเสริม จากนักส่งเสริมภาครัฐมากที่ ต้องการการส่งเสริมในด้านเนื้อหา 3 อันดับแรก ได้แก่ การก้าหนดบทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการ แผนการลดต้นทุน และการพัฒนาคุณภาพผลผลิต ด้านวิธีการส่งเสริมเกษตรกรต้องการวิธีการส่งเสริมแบบรายบุคคลมากที่สุด ต้องการการส่งเสริมแบบกลุ่ม และต้องการการส่งเสริมแบบมวลชน ตามลำดับ 4) เกษตรกรมีปัญหาในการดำเนินงานแปลงใหญ่ 3 อันดับแรก ได้แก่ การแต่งตั้งคณะกรรมการ การกำหนดลูกค้าและแหล่งจำหน่ายเพื่อใช้เป็นข้อมูลในการประกอบการลูกค้า และการจัดทำแผนธุรกิจในระดับกลุ่ม 5) ข้อเสนอแนะ และแนวทางการพัฒนา ได้แก่ จัดให้มีการประชุมพบปะสมาชิกอย่างน้อยเดือนละครั้ง สมาชิกในกลุ่มต้องมีความสามัคคี ร่วมมือร่วมใจกัน และกลุ่มจะต้องมีการเพิ่มช่องทางการตลาด มีแผนการผลิตจําหน่ายที่แน่นอนชัดเจน
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม.(ส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2562
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10108
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Agri-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
165529.pdfเอกสารฉบับเต็ม2.01 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons