กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1010
ชื่อเรื่อง: | การประเมินนโยบายขจัดความยากจน พ.ศ. 2548-2550 กรณีศึกษาโครงการพัฒนาศักยภาพของหมู่บ้าน/ชุมชน จังหวัดปราจีนบุรี |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Assessment of poverty eradication policy B.E. 2548-2550 : a case study of the potential development of the village/community (SML) project Prachin Buri Province |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | ปธาน สุวรรณมงคล นุชจรี พงษ์เจริญ, 2516- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา ฐปนรรต พรหมอินทร์ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชารัฐศาสตร์ -- วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการเมืองการปกครอง -- วิทยานิพนธ์ ความจน -- นโยบายของรัฐ -- ไทย -- การประเมินผล |
วันที่เผยแพร่: | 2552 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อ (1) ประเมินผลนโยบายขจัดความยากจน กรณีโครงการพัฒนาศักยภาพของหมู่บ้าน/ชุมชน ด้านปัจจัยนำเข้า กระบวนการ ผลผลิต ผลลัพธ์ และผลกระทบ (2) ศึกษาปัญหาและอุปสรรคที่เกิดจากการดำเนินตามนโยบายขจัดความยากจน (3) เสนอแนะแนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรคจากการดำเนินตามนโยบายขจัดความยากจน การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย แบ่งเป็น 4 กลุ่ม คือ ข้าราชการ 2 คน นักปกครองท้องที่ 6 คน สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล 6 คน และคณะกรรมการโครงการ จำนวน 15 คน รวมทั้งสิ้น 29 คน โครงการพัฒนาศักยภาพของหมู่บ้าน/ชุมชน ที่เป็นกรณีศึกษามี จำนวน 3 โครงการ โดยเลือกขนาดละ 1 โครงการ เครื่องมือวิจัยใช้แบบสัมภาษณ์แบบเจาะลึก และใช้การวิเคราะห์ข้อมูลแบบวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า (1) ในการประเมินผลนโยบายขจัดความยากจน พบว่า 1.1) ด้านปัจจัยนำเข้าวัตถุประสงค์ของโครงการมีความชัดเจน กลยุทธ์วิธีการและสถานที่โนการดำเนินโครงการมีความเหมาะสมบุคคลากรมีความพรัอม งบประมาณและทรัพยากรมีความเพียงพอ 1.2) ด้านกระบวนการ โครงการทั้ง 3 ขนาดสามารถดำเนินงานได้ตามขั้นตอน แต่ด้านความรับรู้ในขั้นตอนการดำเนินงานของคณะกรรมการ มีเพียงโครงการขนาดใหญ่เท่านั้นที่มีความรัความเข้าใจเป็นอย่างดี 1.3) ด้านผลผลิต การดำเนินงานโครงการทั้ง 3 ขนาด บรรลุตามวัตถประสงค์แล้วเสร็จตามระยะเวลาและงบประมาณที่กำหนด 1.4) ด้านผลลัพธ์ ประชาชนมีส่วนร่วมในการดำเนินโครงการ โดยโครงการขนาดเล็กและโครงการขนาดใหญ่สามารถแก้ไขปัญหาด้านการดำเนินชิวิต ส่วนโครงการขนาดกลางสามารถแก้ไขปัญหาด้านรายได้ด้านผลกระทบ โครงการ ทั้ง 3 ขนาดมีผลกระทบทางสังคมทั้งด้านบวกและลบ ผลกระทบทางเศรษฐกิจมีเพียงโครงการขนาดกลางเท่านั้นที่มีผลกระทบทางด้านบวก ส่วนผลกระทบทางด้านลบไม่พบโนโครงการทั้ง 3 ขนาดที่ศึกษา นอกจากนี้ โครงการทั้ง 3 ขนาด ยังมีผลกระทบทางการเมืองทั้งด้านบวกและด้านลบ (2) ปัญหาและอุปสรรคโครงการขนาดโหญ่ พบปัญหาอุปสรรคเรื่องส่วนต่าง ของเงินงบประมาณ ส่วนโครงการขนาดกลางและขนาดเล็กพบใหญ่หาอุปสรรคด้านกระบวนการ (3) ข้อเสนอแนะแนวทางแก้ไขปัญหาและอุปสรรค คือ รัฐบาลควรเพิ่มงบประมาณตามสัดส่วนจำนวนประชากรระดับอำเภอควรจัดให้มีการส่งเสริมด้านการประชาสัมพันธ์เพื่อให้ประชาชนเกิดความเข้าใจเกี่ยวกับโครงการและจัดอบรมผู้ไหญ่บ้านเพื่อให้เป็นผู้รับผิดชอบโครงการร่วม |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (ร.ม. (การเมืองการปกครอง))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2552 |
URI: | http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1010 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Pol-Theses |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
Thesbib118363.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 4.51 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License