กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10115
ชื่อเรื่อง: กระบวนการบริหารงานบุคคลโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The personnel management process of the general education section of Phra Pariyattidham School in Bangkok Metropolis
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: อรรณพ จีนะวัฒน์, อาจารย์ที่ปรึกษา
ทัสนี วงศ์ยืน, อาจารย์ที่ปรึกษา
องวินัยธรพิสิษฐ์ ศรีวิชา
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารการศึกษา --วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ --วิทยานิพนธ์
โรงเรียนพระปริยัติธรรม--การบริหารงานบุคคล
วันที่เผยแพร่: 2550
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาระดับการปฏิบัติงานในกระบวนการ บริหารงานบุคคลตามความคิดเห็นของผู้บริหารและครูผู้สอนโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญ ศึกษา กรุงเทพมหานคร (2) เปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้บริหารและครูผู้สอนเกี่ยวกับระดับ การปฏิบัติงานในกระบวนการบริหารงานบุคคลของโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา กรุงเทพมหานคร และ (3) ศึกษาปัญหาและข้อเสนอแนะการแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับกระบวนการ บริหารงาน บุคคลของโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา กรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารและครูผู้สอนในโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญ ศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร ทั้งหมด 12 โรงเรียน จำนวน 123 รูป / คน แบ่งเป็นผู้บริหาร จำนวน 19 รูป/คน ครูผู้สอน จำนวน 104 รูป/คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามแบบมาตร ประมาณค่า 5 ระดับ ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเอง มีค่าความเที่ยง 0.95 สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที ผลการวิจัยพบว่า (1) ผู้บริหารและครูผู้สอนมีความคิดเห็นเกี่ยวกับระดับการ ปฏิบัติงานในกระบวนการบริหารงานบุคคลอยู่ในระดับปานกลาง (2) ผู้บริหารและครูผู้สอนมี ความคิดเห็นเกี่ยวกับกระบวนการบริหารงานบุคคลไม่แตกต่างกัน และ (3) ปัญหาการบริหารงาน บุคคล ได้แก่ ขาดการวางแผนกำลังคนที่มีประสิทธิภาพ บุคลากรไม่มีความถนัดในงานที่รับ มอบหมาย งบประมาณในการบริหารและบุคลากรมีน้อย ขาดการส่งเสริมพัฒนาบุคคลและการ ประเมินผลการปฏิบัติงานที่จริงจัง ข้อเสนอแนะ คือ ควรมีการประสานงานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อแก้ปัญหาด้านงบประมาณ และควรมีการพัฒนาบุคคลอย่างจริงจังเพื่อสร้างประสิทธิภาพใน การทำงานทุกด้าน
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (ศษ.ม. (บริหารการศึกษา))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2550
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10115
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Edu-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdfเอกสารฉบับเต็ม5.43 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons