Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10123
Title: การส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ของเกษตรกรอำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปา
Other Titles: Extension of technology utilization of maize production for farmers in Maetha District, Lampang Provinc
Authors: นารีรัตน์ สีระสาร, อาจารย์ที่ปรึกษา
สินีนุช ครุฑเมือง แสนเสริม, อาจารย์ที่ปรึกษา
บุญช่วย อุดคำมี, 2525-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร --วิทยานิพนธ์
ข้าวโพด--การผลิต--เทคโนโลยีที่เหมาะสม
Issue Date: 2562
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพทางสังคมและเศรษฐกิจ 2) สภาพการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ 3) การใช้เทคโนโลยีการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ 4) ต้นทุนการผลิตและผลตอบแทนการใช้เทคโนโลยีการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ 5) ปัญหาการผลิตและข้อเสนอแนะแนวทางส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ของเกษตรกร อำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปางประชากรในการวิจัย คือ เกษตรกรที่ปลูกหรือผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ปี 2562/63 ของอำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปางที่ขึ้นทะเบียนเกษตรกร จำนวนรวมทั้งหมด 189 ราย กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างใช้สูตร(Taro Yamane) และสุ่มตัวอย่างสุ่มแบบง่าย มีค่าสัมประสิทธิ์ความเชื่อถือในภาพรวมเท่ากับ 0.845 วิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการจัดอันดับ ผลการวิจัยพบว่า 1) เกษตรกรเกินครึ่งเป็นเพศหญิง มีอายุเฉลี่ย 55.87 ปี การศึกษาระดับประถมศึกษา ประสบการณ์ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เฉลี่ย 11.43 ปี พื้นที่ในการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เฉลี่ย 24.28 ไร่ ผลผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เฉลี่ย 585.56 กิโลกรัมต่อไร่ รายได้จากการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เฉลี่ย 91,694.42 บาทต่อปี รายจ่ายจากการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เฉลี่ย 95,753.36 บาทต่อปี 2) พื้นที่ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เกือบทั้งหมดอยู่นอกเขตชลประทาน เกินครึ่งมีสภาพพื้นที่เป็นพื้นที่ราบเชิงเขา ส่วนใหญ่ปลูกในฤดูฝน เกษตรกรใช้เมล็ดพันธุ์ลูกผสมของภาคเอกชนในการปลูก เฉลี่ยไร่ละ 3.36 กิโลกรัม เกษตรกรส่วนใหญ่ใช้พันธุ์ที่มีความทนแล้งได้นานเมื่อฝนทิ้งช่วงเจริญเติบโตเหมาะสมกับสภาพดินฟ้าอากาศ มีการใช้เครื่องจักรเครื่องมือ ได้แก่ รถไถเล็กและเครื่องพ่นสารเคมี 3) เกษตรกร ไม่มีเทคโนโลยีการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ การเก็บตัวอย่างดินเพื่อวิเคราะห์ดินก่อนปลูก เลือกใช้พันธุ์ที่ให้ผลผลิตสูง โดยปลูกด้วยเครื่องปลูก และไม่มีการคัดแยกฝักเสียขณะเก็บเกี่ยว สีเป็นเมล็ดแล้วขายทันที 4) ต้นทุนการผลิตข้าวโพดเฉลี่ย 4,104.53 บาทต่อไร่ ราคาขายผลผลิตเฉลี่ย 6.73 บาทต่อกิโลกรัมผลผลิตเฉลี่ย 585.56 กิโลกรัมต่อไร่ ทำให้มีรายได้เฉลี่ย 3,949.20 บาทต่อไร่ 5) ปัญหาในการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ด้านราคาและปริมาณผลผลิตตกต่ำมาก ข้อเสนอแนะ ภาครัฐควรมีตลาดกลางรับซื้อผลผลิต เพื่อลดการกดราคาจากพ่อค้าคนกลางมากที่สุ
Description: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม.(ส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2562
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10123
Appears in Collections:Agri-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
165199.pdfเอกสารฉบับเต็ม15.71 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons